Page 71 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 71
70 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
อารมณ์ปรารถนาตามนัยที่ผสานกันกับกิเลสตัณหาของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ผู้เขียนแสดงออกให้เป็น
รูปธรรมผ่านความเปลี่ยนแปลงของร่างกายตัวละครเอก ตัวละครเอกที่มี “เขี้ยว” ใน ซากดอกไม้ คือชาติชาครีต์
ใน ด้ายสีม่วง คือวินไท และใน ห่วงจําแลง คือลอยควัน ดังตัวอย่างเช่น “ผมเห็น ‘เขี้ยว’ ของเขางอกยาว
ออกมาตรงมุมปากทั้งสองข้าง เมื่อขยี้ตาและลองดูใหม่ เขี้ยวนั้นหายไปแล้ว” (ห่วงจําแลง, 2551: 226)
ผู้เขียนบทความเห็นว่า “เขี้ยว” น่าจะเป็นอุปลักษณ์ของการตักตวงสูบกินคุณค่าและประโยชน์จากตัวละคร
อื่นในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกันผ่านวาทกรรมความรัก ในบริบทของสังคมเมืองที่มีผู้กล่าวว่าเป็น “สังคมคน
กินคน” ในความหมายที่มนุษย์เห็นประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งนั้นยังใช้ได้กับตัวละครชนกลุ่มน้อยทางเพศบาง
ตัวในนวนิยายชุดนี้ด้วย
ความรัก อารมณ์ปรารถนา และกิเลสตัณหาสําหรับตัวละครเกย์ในนวนิยายชุดนี้จึงเป็นสิ่งที่กลืนเป็น
เนื้อเดียวกัน ตัวละครต้องว่ายวนอยู่ในความทุกข์ซ้ําแล้วซ้ําเล่าไม่รู้สิ้นสุดก็เนื่องมาจากความรัก อย่างในกรณี
ของปฤงคพที่รักวินไทจนยอมทุกอย่าง และเขตพิภพที่ต้องหมดเปลืองทรัพย์และความรู้สึกไปมากกับการทํา
ให้ลอยควันรู้สึกพึงพอใจ ในคําอธิบายเชิงทฤษฎีได้กล่าวไว้ว่าจินตนาการทางเพศของเกย์มิใช่สิ่งอื่นใดนอกจาก
ภาพแทนของเพศสถานะ ความรักและเพศสถานะของเกย์ถูกสร้างด้วยทัศนะบางอย่างด้วยการเชื่อในความมี
ตัวตนและรูปธรรมของเกย์ ความเป็นเกย์และความรักของเกย์จึงถักทอด้วยระเบียบโครงสร้างที่เกย์สร้าง
ขึ้นมาเอง ระเบียบโครงสร้างเหล่านั้นเป็นทั้งอุปสรรค และแรงกระตุ้นให้ชีวิตทางเพศของเกย์ดําเนินไป และ
เมื่อชีวิตดังกล่าวหยุดชะงัก เกย์จะพบว่า “ความเป็นเกย์” กับ “ความรัก” ที่ตนครอบครองอยู่นั้นไม่เคยไปถึง
ความสมบูรณ์แบบเลย (นฤพล ด้วงวิเศษ, 2549ก: 49)
สําหรับผู้เขียนบทความแล้วความย้อนแย้งที่ทําให้เกิดปัญหาในความรักของเกย์คือการที่เกย์สร้าง
ความลื่นไหลให้แก่ชีวิตทางเพศของตน แต่กลับสร้างความเป็นแก่นสารให้แก่ความรัก และส่วนใหญ่
ความหมายของความรักยังยึดโยงกับรูปแบบความรักในสังคมรักต่างเพศที่มีสถาบันต่างๆ คอยเกื้อหนุนให้
ความรักดํารงอยู่ได้ จึงกล่าวได้ว่าการที่เกย์ยึดเอาความรักที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนเงื่อนไขของชีวิตทางเพศของตนมา
เป็นเกณฑ์ในการสร้างและธํารงรักษาความรักนั้นเป็นเหตุให้ความสมบูรณ์แบบที่นฤพลกล่าวถึงไม่เกิดขึ้น หรือ
อาจไปไกลถึงขนาดที่ว่าความสมบูรณ์แบบที่ว่าไม่มีอยู่จริง วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ได้วิพากษ์ความรักของเกย์
ผ่านประสบการณ์ของเขตพิภพไว้ตอนหนึ่งว่า “ความสัมพันธ์ของมนุษย์อย่าง ‘เราๆ’ เป็นความสัมพันธ์สุด
แสนจะฉาบฉวยและจอมปลอม เมื่อแรกพบกัน ความ ‘หลง’ มักถูกจัดและแปรเปลี่ยนเป็นความ ‘รัก’ อย่าง
รวดเร็ว แต่เมื่อ ‘เดิน’ ด้วยกันไปสักระยะหนึ่งก็จะพบพาน ‘ทางตัน’ ที่ไม่อาจเดินทางไปต่อได้ ความรักจึงพัง
ภินท์และจบลงด้วยความเจ็บปวดแทบทุกครั้ง” (ห่วงจําแลง, 2551: 388)
หายนะที่เกิดจากอารมณ์ปรารถนาอีกอย่างคือโรคเอดส์ ที่ในนวนิยายชุดนี้ยังคงเลือกเสนอความหมาย
ของโรคเอดส์ว่ายังคงโยงกับความสําส่อน อย่างไรก็ตาม ชะตากรรมและวิถีปฏิบัติของตัวละครที่ติดเชื้อเอดส์ก็
แตกต่างกันแสดงให้เห็นความหลากหลายในการเลือกทางเดินชีวิตของเกย์ ตัวละครเกย์ที่ผู้เขียนระบุอย่าง