Page 75 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 75
74 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ทุกอย่างดําเนินไปตามกลไกกรรม
การมีบุตรหรือธิดาหมายถึงการมี ‘ห่วง’
ดังคําสอนที่พระพุทธองค์ประทานแก่พระราหุลว่า...
พระพุทธองค์ : ราหุล กระจกเงามีไว้สําหรับทําสิ่งใด
พระราหุล : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กระจกเงามีไว้สําหรับส่องดูพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : ราหุล กรรมทั้งหลายก็เช่นกันเป็นสิ่งที่บุคคลควรดูแล้วดูเล่า ว่าได้ทําไป
อย่างไรทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ดังนั้น เวไนยสัตว์ทุกหมู่เหล่า ‘จงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่าได้มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย... ’
(ห่วงจําแลง, 2551: 422)
สิ่งที่ผู้เขียนทิ้งไว้ให้ผู้อ่านคิดคือการกลับไปทบทวนตัวเองให้เข้าใจถ่องแท้โดยหยั่งรู้ถึงการกระทําและ
ผลแห่งการกระทําที่จะตามมาข้างหน้า การที่ผู้เขียนย้ําว่าให้มีธรรมเป็นที่พึ่งก็เพราะผู้อ่านเองควรดึงตัวเอง
จากโลกสมมติหรือบ่วงแห่งความปรารถนาที่รังแต่จะบีบรัดให้เกิดความทุกข์ไม่สิ้นสุด อุปลักษณ์กระจกเงาใน
ที่นี้ตีความได้ว่า กระจกเงาไม่มีแก่นสารในตัวเอง สิ่งที่เกิดในกระจกเป็นแค่เงาสะท้อน แท้จริงไม่ได้มีอยู่ กรรม
ของเรา ตัวเรา ของเราไม่มีจริง ที่มีขึ้นได้ก็โดยสมมติของเราทั้งสิ้น การเพ่งกรรมที่ได้กระทําผ่านสิ่งที่ไร้ซึ่งแก่น
สารจะทําให้เกิดความหน่าย ให้เห็นว่ากรรมทั้งหลายที่ประกอบมาไม่ก่อสุขแท้ อันจะนําไปสู่การแสวงหาทาง
รอดจากสิ่งเหล่านี้ อุปลักษณ์กระจกเงาในตอนปิดเรื่องสอดรับกันอย่างดีกับลักษณะของละครที่ผู้เขียนเลือกใช้
เพราะเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเชื้อเชิญให้มนุษย์สังเกตจากสิ่งที่เหมือนตนเองแต่ไม่ใช่ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเงาสะท้อนใน
กระจก หรือการแสดงของตัวละคร อุปลักษณ์กระจกเงาและอุปลักษณ์ละครนี้สัมพันธ์กับอนัตตา กล่าวคือ
อุปลักษณ์ทั้งสองทําหน้าที่สะท้อนรูปลักษณ์ของเรา ชีวิตของเรา แต่ไม่ใช่ตัวเรา โลกของเราที่ดําเนินไปเป็น
เพียงของการฉายออกมาของตัณหาอุปาทานเท่านั้น
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า วาทกรรมพุทธศาสนาที่ผู้เขียนหยิบเลือกมาใช้เต็มสมบูรณ์ได้ในที่สุดผ่าน
การเดินทางของตัวละครในโครงเรื่องของนวนิยายไตรภาค โดยชี้ให้เห็นอิทธิพลของพุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับ
วิธีที่เราอาจใช้พินิจอัตลักษณ์เกย์ไทยที่แตกต่างกับเกย์ในบริบทอื่นๆ ของโลก โดยเฉพาะโลกตะวันตกที่เป็น
บ่อเกิดของทฤษฎีอัญเพศที่นํามาประยุกต์ใช้ได้เพียงบางส่วน
ผิดด้วยหรือที่จะปรารถนา: ชนกลุ่มน้อยทางเพศท่ามกลางการปะทะประสานของวาทกรรม
ประเด็นเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยทางเพศทั้งหมดที่ผู้เขียนแสดงให้เห็นเป็นความพยายามที่จะศึกษา
ตีความนวนิยายไตรภาคของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์โดยเสนอความเห็นที่ต่างกับงานศึกษาที่มีมาก่อนหน้า ผล
การศึกษาผ่านการแสวงหาคุณสมบัติของ “ตัวบทแบบอัญเพศ” ผู้เขียนบทความพบว่านวนิยายไตรภาคชุดนี้
นําเสนอชีวิตทางเพศของชนกลุ่มน้อยทางเพศที่สัมพันธ์กับชนชั้น การตีความภาพแทนความสําส่อนของตัวละคร