Page 69 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 69

68       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       ล่าฌายน์เป็นตัวละครที่มีลักษณะของ “คนนอก” ตามมาตรฐานของสังคมชนชั้นกลางรักต่างเพศ
                เขาเป็นผลผลิตของครอบครัวที่ล่มสลายอันเนื่องมาจากชาติชาครีต์เป็นเกย์ เขาเป็นผู้ค้ายาเสพติด เขาเสพติด

                การร่วมเพศ และเขาเป็นผู้ดึงชีวิตของลอยควันให้ตกต่ํา ล่าฌายน์มีเพศวิถีที่ลื่นไหล แต่เดิมเขามีบทบาทถูก
                กระทําในการมีเพศสัมพันธ์ แต่เขาก็ได้เรียนรู้วิธีอื่นๆ ในการสร้างความสุขทางเพศ เขาพยายามทดลองการ
                ร่วมเพศหลายรูปแบบ รวมทั้งแบบที่ปรากฏในตัวอย่างที่คัดมา จุดที่น่าสนใจคือเสียงของผู้เล่าเรื่องที่กล่าวถึง

                ล่าฌายน์ในฐานะ “คนใน”  โดยแนะนัยว่าคนที่ไม่อาจทําความเข้าใจกับกิจกรรมทางเพศที่กําลังเกิดขึ้นได้จะ
                เป็นฝ่ายที่เป็น “คนนอก” และ “คนชายขอบ” ซึ่งถือว่าเป็นการพลิกกลับในการให้ความหมายแก่เกย์ อย่างไร

                ก็ตาม ในตอนจบทั้ง 3 แบบ ล่าฌายน์พบจุดจบในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยผู้อ่านจะได้เห็นอิทธิพลของพุทธ
                ศาสนาที่กํากับนวนิยายชุดนี้อยู่เบื้องหลัง ดังที่จะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไป


                       ผู้เขียนบทความขอสรุปประเด็น “การเมืองเรื่องความสําส่อน” ว่า วัฒนธรรมการหาคู่นอน/คนรัก
                ตลอดจนอารมณ์ปรารถนาและความลื่นไหลของเพศวิถีมีส่วนในการสร้างและบ่มเพาะอัตลักษณ์ของเกย์ที่ส่วน

                หนึ่งน่าจะเกิดจากความพยายามในการหลบซ่อนการตรวจสอบของสังคมรักต่างเพศโดยเป็นการ “หลบซ่อนอย่าง
                ท้าทาย” สังคมรักต่างเพศใช้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางศีลธรรมมาตัดสินและลงโทษกลุ่มเกย์

                “เสรีภาพของการร่วมเพศ” นี้จึงช่วยยืนยันอัตลักษณ์เกย์ในฐานะ “คนนอก”  อันเป็น “สปิริต”  แบบอัญเพศที่
                ขัดขืนต่อมาตรฐานในของวิถีชีวิตทางเพศที่ถูกหยิบยื่นให้ (Shemoff, 2006: 41  อ้างถึงใน นฤพล ด้วงวิเศษ,
                2553: 18) มาตรฐานดังกล่าวถูกท้าทายในหลายแง่มุม ทั้งเรื่องการร่วมเพศในสถาบันการแต่งงาน การร่วมเพศที่

                จะก่อให้เกิดทายาท การร่วมเพศที่ปลอดภัย การพัฒนาความสัมพันธ์ก่อนการร่วมเพศ ตลอดจนพื้นที่ในการร่วม
                เพศ ที่ล้วนเป็นเกณฑ์บ่งชี้ว่าสิ่งใด/การกระทําเช่นไรเรียกว่าสําส่อน อย่างไรเรียกว่าเหมาะสม (ไม่สําส่อน)

                นอกจากนั้นความลื่นไหลของเพศวิถียังถูกนําเสนอในลักษณะที่คลุมเครือ ไม่อาจจําแนกให้ชัดเจนได้ซึ่งแสดงให้
                เห็นลักษณะเฉพาะในวิธีการมองเรื่องเพศของคนไทย (แจ็คสัน, 2548ก: 238-241) เส้นแบ่งและมาตรฐานทั้งหลาย

                ถูกแสดงให้เห็นว่า “ใช้การไม่ได้”  เมื่ออยู่ในวงล้อมของวัฒนธรรมเกย์  ทั้งยังวิพากษ์ว่ามาตรฐานเหล่านั้นเป็น
                ลักษณะ “มือถือสากปากถือศีล”  ที่คนนิยมแสร้งทําเพื่อธํารงภาพลักษณ์และสถานะทางสังคมของตน เข้าข่าย

                “ปากว่าไม่แต่ใจอยาก” ดังข้อความที่ปรากฏมาข้างต้น

                  ดับแล้วซึ่งความปรารถนา: วาทกรรมพระพุทธศาสนากับชนกลุ่มน้อยทางเพศ


                       พระพุทธศาสนาเป็นวาทกรรมที่สัมพันธ์กับวาทกรรมเกย์ไทยอย่างลึกซึ้ง Jackson (2000: 56-89 อ้าง
                ถึงใน เทอดศักดิ์ ร่มจําปา, 2545: 15) ได้สํารวจแล้วพบว่า พระพุทธศาสนามีอิทธิพลอย่างมากต่อการเป็น
                รากฐานให้แก่วาทกรรมต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย โดยเฉพาะวาทกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องเพศรวมทั้งการ

                อธิบายพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน ดังที่ได้กล่าวถึงเพศชายหญิง และพฤติกรรมรักเพศเดียวกันหลากลายรูปแบบ
                นอกจากนั้น พระพุทธศาสนายังมีอิทธิพลในการจัดลําดับความสําคัญของสังคมไทยในทุกด้านอีกด้วย
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74