Page 77 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 77
76 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
เมื่อย้อนกลับไปพินิจคําถามที่ผู้เขียนตั้งไว้ในชื่อบทความว่า “ผิดด้วยหรือที่จะปรารถนา” น่าจะชวน
ให้ตีความได้หลายแนวทาง คําถามนี้อาจเป็นคําถามเชิงวาทศิลป์ที่ไม่ต้องการคําตอบ อาจเป็นคําถามที่กลุ่ม
เกย์ตั้งคําถามกับสังคมรักต่างเพศโดยมีนัยทางการเมืองที่เกย์แสดงผ่านเพศวิถีและความสําส่อน แต่หาก
พิจารณาจากการปิดเรื่องของผู้เขียนแล้ว น่าจะพบว่าความปรารถนาเป็นทางเลือกของมนุษย์ในการดําเนิน
ชีวิต การมุ่งปรารถนาโดยประมาทย่อมก่อผลแห่งความทุกข์ทรมานใจในบั้นปลาย มนุษย์จึงพึงใช้ปัญญาเป็น
เครื่องกํากับใจและพินิจความปรารถนาของตนจนเท่าทัน อย่างไรก็ตาม จากการปิดเรื่องของผู้เขียน และ
ความเป็นธรรมเชิงวรรณศิลป์ (poetic justice) ที่ผู้เขียนใช้จัดการตัวละครหลายตัวตามกฎแห่งกรรม น่าจะ
สร้างความค้างคาคับข้องใจให้แก่ผู้อ่านจํานวนไม่น้อย ค่าที่ว่าปุถุชนย่อมแสวงหาความสุขทางโลก การขัด
เกลาจิตให้กลายเป็น “เกย์ผู้ปลอดพ้นอวิชชา” จึงอาจต้องใช้วิริยะอันเลิศและหลายคนอาจไปไม่ถึงขั้นนั้นใน
ชั่วชีวิตนี้ คําถามที่ว่า “ผิดด้วยหรือที่จะปรารถนา” จึงยังคงก้องสะท้อนต่อไปในวงจรการสร้างและเสพ
วรรณกรรมเกย์ไทย ก้องสะท้อนอยู่ในสายธารวาทกรรมเกี่ยวกับเกย์ในสังคมไทย ตลอดจนก้องสะท้อนใน
ความครุ่นคํานึงของเกย์ไทยในฐานะปริศนาที่ชวนให้รู้สึกกลืนไม่เข้าคายไม่ออกยิ่งนัก
หมายเหตุ: ผู้เขียนขอขอบคุณอาจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพุทธศาสนา และ
รองศาสตราจารย์ ดร.สรณัฐ ไตลังคะ ที่กรุณาให้ข้อคิดเห็นในการขัดเกลาบทความนี้จนสําเร็จ