Page 67 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 67

66       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       การกําหนดให้ผู้เล่าเรื่องเป็นผู้เล่าฉากรักเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ช่วยถ่ายทอดอารมณ์ปรารถนา
                ของเกย์ได้อย่างถนัดชัดแจ้ง การเล่าเรื่องเน้นประสาทสัมผัสต่างๆ ที่ถูกปลดปล่อยอยู่เหนือการควบคุม

                โดยเฉพาะการจ้องมองและการสัมผัส นอกจะบรรยายฉากรักให้เห็นชัดเจนแล้ว ในฐานะวรรณกรรมเกย์หลัง
                ทศวรรษ 2540  นวนิยายชุดนี้แสดงให้เห็นการขยายตัวของเพศวิถีต่างๆ ที่เป็นไปได้มากกว่าโครงสร้าง
                แบบเดิมที่การแบ่ง “เกย์” และ “ทอม” ในฐานะที่เป็นชนกลุ่มน้อยทางเพศ สังคมไทยยังคงหยิบยืมโครงสร้าง

                แบบ “สองขั้ว” ของสังคมรักต่างเพศมาใช้ เกย์ประกอบด้วยเกย์คิงที่เป็นฝ่ายกระทําในการร่วมเพศและเป็นที่
                คาดหวังว่ามีความเป็นชายมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง และเกย์ควีนที่เป็นฝ่ายถูกกระทําในการร่วมเพศ และมี

                ลักษณะ “เป็นสาว” มากกว่า (Jackson and Sullivan, eds., 2000) ความลื่นไหลดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่
                อรรถวุฒิ มุขมา (2546) และ วิทยา พุ่มยิ้ม (2550) สังเกตเห็นเช่นกัน โดยผู้เขียนบทความมีข้อสังเกตเพิ่มเติม

                ว่าความลื่นไหลของเพศวิถีปรากฏสม่ําเสมอในนวนิยายทั้ง 3 เรื่อง และเป็นวรรณกรรมเกย์ที่ดูมีเจตนาจะชี้ให้
                เห็นความลื่นไหลของเพศวิถีอย่างชัดเจน ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความลื่นไหลของเพศวิถีเช่น


                               (คุณผู้ชม...คุณผู้ชมอาจคิดว่าสองเป็นฝ่ายกระทํา และคเชนทร์เป็นฝ่ายถูกกระทํา เนื่อง
                       ด้วยกิริยาอาการของสองดูเป็นผู้ชายกว่าคเชนทร์มากมายหลายเท่า แต่ข้าพเจ้าอยากกระซิบบอก
                       คุณผู้ชมว่าคุณผู้ชมกําลังคิดผิด นี่เป็นบทเรียนที่ข้าพเจ้ามุ่งหมายจะบอกคุณผู้ชมว่า...ลีลา

                       ภายนอกกับลีลาบนเตียง บางคาบบางคราวก็แสดงบทบาทสวนทางกันโดยสิ้นเชิง และนี่เป็นครั้ง
                       แรกที่สองเป็นฝ่ายถูกกระทํา ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเขาเป็นผู้ลงมือกระทํามาโดยตลอด)  (ด้ายสีม่วง,
                       2551: 302)

                       โปรดสังเกตวิธีการของผู้เล่าเรื่องในการบอกเล่าความลื่นไหลที่ผู้เล่าเรื่อง “ทัก” คุณผู้ชมซึ่งในที่นี้

                อาจหมายถึงผู้อ่านที่ติดอยู่กับมายาคติเรื่องเพศวิถีของเกย์ ให้ตระหนักถึงการมีอยู่ของความลื่นไหล นอกจาก
                เรื่องประสบการณ์ทางเพศแล้ว ผู้เขียนยังแนะให้ผู้อ่านไม่ยึดติดกับลักษณะภายนอกของเกย์ด้วยว่าผู้มีลักษณะ
                เป็นชายมากกว่าจะมีบทบาทเพศเป็นฝ่ายกระทําผู้ที่มีลักษณะเป็นหญิง “เด็กชายหน้าสวยหวานบางคน ทํา

                บทบาทเป็น ‘สาวเสียบ’  หรือผู้ชายไว้หนวดและเครา ‘แพะ’ รูปร่างบึกบึน ล่ําสัน กล้ามใหญ่ แต่มีบทบาท
                เป็น ‘ฝ่ายรับ’ ได้” (ห่วงจําแลง, 2551: 151) ความหมายทางการเมืองในความลื่นไหลของเพศวิถีนี้อยู่ที่การ

                ดิ้นรนออกจากขั้วตรงข้ามที่ถอดมาจากมาตรฐานแบบรักต่างเพศแล้วเอามาครอบชนกลุ่มน้อยทางเพศอีก
                ชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ นอกจากการสลับบทบาทเพศที่ผู้เขียนนําเสนอแล้ว เพศสัมพันธ์ที่ดู “วิปริต” ก็ถูกนําเสนอใน

                นวนิยายชุดนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงให้เห็นความลื่นไหลของเพศวิถี

                               คุณนพปฎลของดิฉันอยู่ในสภาพเปลือยเปล่า ร่างของเขากําลังยืนยงโย่ยงหยกอยู่ใกล้
                       กับโต๊ะทํางาน กําลังกระทํากิจกรรมบางอย่างกับเด็กหนุ่มคนหนึ่งซึ่งอยู่ในท่านอนทอดร่างแนบไป
                       กับพื้นโต๊ะ เด็กหนุ่มประมาณห้าหกคนเห็นจะได้...ทุกคนอายุอานามประมาณวัยรุ่นทั้งสิ้น หน้าตา

                       ดีแทบทุกคน...ที่สําคัญทุกคนในห้องนั้นอยู่ในสภาพกายเปล่า ไร้อาภรณ์ใดๆ ปกปิดร่างกาย
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72