Page 189 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 189

188      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                มีนโยบายเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเด่นชัด ส่วนบรรดาประเทศที่เป็นอาณานิคมต่างๆ ก็ได้กอบกู้เอกราชของ
                ตนด้วยขบวนการชาตินิยม เช่น พม่า อินโดนีเซีย ดังนั้นในแถบอินโดจีนต่างก็มีสภาพสงครามโดยทั่วไป


                       หลัง พ.ศ.2493 ประเทศไทยได้กลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สําคัญในการเมืองระหว่างประเทศยุคหลัง
                สงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯและโซเวียตแข่งขันกันเป็นประเทศมหาอํานาจ และพยายามที่จะดึงประเทศเล็ก
                ประเทศน้อยในโลกมาเป็นสมัครพรรคพวกและบริวารของตน (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2551: 477) สถานการณ์

                ในช่วงนี้จึงอยู่ในภาวะของการขับเคี่ยวระหว่างโลกเสรีและระบบคอมมิวนิสต์ และผู้คนต่างต้องตกอยู่ในภาวะ
                ความหวาดระแวงต่อการเกิดสงครามขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งกวีเช่นอุชเชนีและทวีปวรอาจจะมีความรู้สึกเช่นนี้ด้วย
                จึงเขียนกวีนิพนธ์ที่มีแนวคิดที่ตอกย้ําภาพความสูญเสียจากเหตุการณ์สงคราม และเน้นย้ําในเรื่องสันติภาพ

                ทั้งๆ ที่เหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่ 2 นั้นได้ล่วงเลยมากว่า 5 ปีแล้ว กวีนิพนธ์ในยุคนี้ถือว่าอยู่ใน “ยุค
                แสวงหาสันติภาพและความเป็นไท” (คําของทวีปวร ที่เขียนไว้ใน “รวมบทกวีนิพนธ์ จงเป็นอาทิตย์เมื่ออุทัย”)


                  บทสรุป


                       กวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ที่กล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2  ปรากฏในฐานะกระบอกเสียงของกวีเพื่อ
                วิพากษ์และแสดงความคิดเห็นต่อความรุนแรงและเลวร้ายของเหตุการณ์ ตลอดจนพฤติกรรมของผู้คนใน

                เหตุการณ์ในครั้งนั้น นอกจากนี้กวีนิพนธ์ในช่วงนี้ยังมีฐานะเป็นกระบอกเสียงของกวีเพื่อเรียกร้องแทนผู้
                สูญเสียด้วย ซึ่งลักษณะเช่นนี้ต่างจาก ”กวีนิพนธ์สงคราม” ในอดีตของไทย เพราะกวีนิพนธ์สงครามในอดีต

                มักจะเป็นเพียงการกล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หรือบุคคลในประวัติศาสตร์มากกว่าการแสดงความ
                คิดเห็น ลักษณะของกวีนิพนธ์ที่เป็น “กาพย์กลอนแห่งความคิด”  และการแสดงความคิดเห็นนี้เริ่มปรากฏชัด

                ขึ้นหลังจากวรรณกรรมไทยมีลักษณะเหมือนกับวรรณกรรมของชาติตะวันตก  กวีเขียนกวีนิพนธ์เพื่อแสดง
                ความคิดเห็นและมีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น อาทิ ในวารสาร นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์


                       นอกจากนี้ยังพบว่ากวีร่วมสมัยที่แต่งกวีนิพนธ์สงครามครั้งนี้กล่าวถึงภาพสงครามโดยให้ความสนใจ
                ไปที่สิทธิมนุษยชนด้วย คือ สิทธิทางการเมืองและเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นสิทธิในการปกป้องทรัพย์
                สมบัติ สิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิในอาหาร สุขภาพ และที่อยู่อาศัย  ตลอดจนสิทธิในการมีชีวิตอยู่ สรุปได้ว่ากวี

                เล็งเห็นความมีอยู่ของสิทธิมนุษยชน จึงสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ขึ้นเพื่อเป็นเสียงสะท้อนเหนือหลุมฝังศพและความ
                สูญเสีย เสียงสะท้อนเหล่านั้นยังคงดังกึกก้องแม้เหตุการณ์ในครานั้นยุติลงไปหลายสิบปีแล้วก็ตาม นั่นย่อม

                แสดงให้เห็นว่า ปากกามีอาณุภาพมากกว่าอาวุธร้ายแรงชนิดใด


                หมายเหตุ: ผู้เขียนบทความขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.สรณัฐ ไตลังคะ และอาจารย์นัทธนัย ประสานนาม
                         ที่ให้คําแนะนําในการแก้ไขปรับปรุงบทความนี้
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194