Page 188 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 188

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   187



                            เป็นที่น่าสังเกตว่ากวีนิพนธ์ของนายผีและนักประพันธ์กลุ่มเอกชนที่กล่าวถึงสงครามในช่วงเวลาที่เกิด
                                                               9
                     สงครามขึ้นจริงหรือหลังจากเหตุการณ์ยุติไปได้ไม่นาน  จึงน่าจะเป็นการกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้แบบ
                     นัยยะตรง แต่กวีนิพนธ์ของอุชเชนีและทวีปวรนั้น จะกล่าวถึงสงครามหลังจากที่สงครามโลกครั้งนี้ยุติลงไปได้
                     สักระยะหนึ่งแล้ว จึงน่าจะเป็นการกล่าวถึงสงครามโดยมีนัยยะทางการเมืองภายในประเทศและการเมือง
                     ระหว่างประเทศแฝงไว้ด้วย ผู้เขียนสันนิษฐานว่ากวีน่าจะกล่าวถึงความสุขสงบที่ปราศจากสงคราม ความ

                     รุนแรง และความขัดแย้งทั้งปวง เพราะหากวิเคราะห์ประกอบกับเหตุการณ์บ้านเมืองของไทยในช่วง พ.ศ.
                     2488-2490 ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มผู้นําที่มีความคิดแบบเสรีนิยม (และสังคมนิยมบางส่วน) รวมทั้งกลุ่มอนุรักษ์

                     นิยมกําลังมีความพยายามที่จะสถาปนาระบบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                                   “กระแสแนวความคิดทางการเมืองเช่นนี้ เป็นผลมาจากชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2

                            ของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ถือว่าตนเป็นฝ่ายประชาธิปไตย (แบบเสรีนิยม) ... ในแง่ของแนวความคิด
                            หรือข้ออ้างทางสิทธิธรรม สงครามโลกครั้งที่ 2   เป็นการต่อสู้ขับเคี่ยวกันระหว่างฝ่ายลัทธิ
                            ประชาธิปไตยและฝ่ายฟาสซิสม์ และเมื่อสงครามจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยหรือ
                            สัมพันธมิตร ก็ทําให้แนวทางหรือแนวความคิดของฝ่ายชนะกลายเป็นรูปแบบที่ได้รับการยอมรับ

                            และชื่นชม ...”
                                                                         (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2551: 437)

                            การเบ่งบานของประชาธิปไตยเช่นนี้เป็นไปในระยะเวลาอันสั้น เพราะบรรดานักการเมือง พรรค

                     การเมือง ข้าราชการทหาร พลเรือนที่ยึดหลักแนวทางประชาธิปไตยไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งเป็นหลัก
                     ของประชาธิปไตยได้ ประกอบกับในขณะนั้น ประเทศกําลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและเกิดกรณีสวรรคต

                     ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ทําให้ระบบทหาร-อํานาจนิยมฟื้นตัวขึ้นมาใหม่

                            ต่อมาเมื่อเกิดการรัฐประหารใน พ.ศ.2490 และมีรัฐบาลใหม่ของคณะรัฐประหารและของ จอมพล
                     ป. พิบูลสงคราม ซึ่งในขณะนั้นและหลังจากนั้น การเมืองของโลกก็อยู่ในบรรยากาศสงครามเย็น โลกถูกแบ่ง

                     ออกเป็น 2 ค่ายมหาอํานาจ คือ ตะวันตกและตะวันออก รัฐบาลของประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาและ
                     อังกฤษต่อต้านรัฐบาลทหารของไทยเพราะถือว่าเป็นฝ่ายฟาสซิสม์ และก็กําลังหวั่นวิตกการขยายตัวของลัทธิ

                     คอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาใช้ไทยฐานที่มั่นต่อต้านคอมมิวนิสต์ และต่อมารัฐบาลไทยก็ได้แสดงเจตจํานงเลือก
                     อยู่ในค่าย “เสรีประชาธิปไตย” ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ประเทศทางตะวันออก เช่น จีน สหภาพโซเวียต




                            9  สงครามโลกครั้งที่ 2 ในแปซิฟิก-เอเชีย ยุติลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (หากนับเวลา
                     ของญี่ปุ่นจะตรงกับ วันที่ 15  สิงหาคม พ.ศ. 2488) ภายหลังจากที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูสองลูกเมื่อวันที่ 6  และ 9
                     สิงหาคมที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ส่งผลให้ฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวิตกว่าสองล้านคน  บ้านเมืองเสียหายยับเยิน และพระจักรพรรดิ
                     ฮิโรฮิโต (Emperor Hirohito) แห่งญี่ปุ่นทรงประกาศยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรผ่าน ทางวิทยุกระจายเสียงทั่วญี่ปุ่น.
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193