Page 187 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 187

186      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามครั้งนี้) ไม่มีมุมที่พวกเขาจะสามารถมองให้เป็นมุมมองในแง่ดีได้เลยแม้แต่น้อย
                ภาพของสงครามครั้งนี้ที่กวีสะท้อนออกนั้นก็คงจะไม่มีความแตกต่างจากภาพสงครามในครั้งอื่นๆ เหตุเพราะ

                ภาพดังกล่าวเป็นภาพแบบฉบับของสงคราม จึงถือได้ว่ากวีนิพนธ์สงครามนี้ เป็นเสมือนภาพแทนของสงคราม
                โดยทั่วไป























                            สะพานพระราม 6 ที่ถูกสหรัฐอเมริกาและอังกฤษทิ้งระเบิด ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2


                       ส่วนในประเด็นเรื่องช่วงเวลาที่แต่งกวีนิพนธ์นั้น มีตั้งแต่ พ.ศ.2484 หลังช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลก
                ครั้งที่ 2 เพียง 2 ปี กวีนิพนธ์ “ความเผลอของนายผี” ของนายผี ที่เขียนขึ้นในช่วงเวลาที่ผู้นําของประเทศไทย

                ลงนามเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในการทําสงคราม นายผี กล่าวว่า “ได้ยินข่าวกล่าวกันลั่นไปหมด... คือทหารบ้าน
                เราเข้าสงคราม” ซึ่งนอกจากกวีนิพนธ์บทนี้แล้ว ยังมี “สามกรุง” (2487) ของ น.ม.ส. ที่เขียนถึงเหตุการณ์ทาง

                ประวัติศาสตร์ช่วงเวลาเมื่อใกล้จะเสียกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ และกล่าวถึง
                ประวัติศาสตร์ไทยเรื่อยมาจนสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น แล้วจบลงด้วยเหตุการณ์ระหว่าง
                สงครามโลกครั้งที่ 2 ยังดําเนินอยู่ ส่วนกวีนิพนธ์บทอื่นต่างก็แต่งใน พ.ศ.2488 เรื่อยมา และเป็นกวีนิพนธ์

                หลังจากนั้น ได้แก่ “ชีวิตยามสงคราม” (2488) ของหยาดฝน “พิษฐาน” (2489) ของเจ้าหญิงจันทิมา “ทาง
                สันติในทัศนะหนึ่ง” (2489) ของโฆษณา  “วิมานบนซากมนุษย์” (2490) ของแสงกรานต์ (สุภร ผลชีวิน)

                “พระจันทร์เป็นสีเลือด” (2592) ของทวีปวร   “มิช้ําอกชอกฉะนี้เลย” “เมื่อศึกมีมา” “เพื่อใคร” “ศานติสิ
                ยอดบูชา” “เป็นไปได้หรือ” (2493) ของอุชเชนี “ก้องกว่าเสียงปืน” “ผู้นิทรา” “กว่าสบสันต์สุขแท้” (2496)

                ของอุชเชนี “ศานติพิชิตมิตรรัก” (2599) ของทวีปวร
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192