Page 186 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 186

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   185



                     ต้องพบกับความยากลําบาก ความสูญเสีย ตลอดจนถูกละเมิดสิทธิในชีวิตและทรัพย์สิน โดยสะท้อนผ่านกวี
                     นิพนธ์สงครามนั่นเอง


                            มองโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่ากวีนิพนธ์ที่ศึกษาจะกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปในทิศทางเดียวกัน
                     แต่ระดับความเด่นชัดของประเด็นที่ปรากฏในเรื่องต่างกันเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกจะเป็นบทกวี
                     นิพนธ์บทสั้นๆ ที่แต่งขึ้นเพื่อกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะ เช่นในงานของอุชเชนี นายปรีดี นายผี

                     สุภร ผลชีวิน  และกวีกลุ่มเอกชน เท่ากับว่ากวีนิพนธ์กลุ่มนี้กวีจงใจจะให้เป็นกวีนิพนธ์เพื่อสงครามโลกครั้งนี้
                     โดยแท้

                            ส่วนในกวีนิพนธ์อีกประเภทที่จะกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 แบบแทรกอยู่ในบางส่วนของเรื่อง

                     เท่านั้น ไม่ได้เป็นแก่นของเรื่อง (บท) เช่นเดียวกับประเภทแรก เช่นในงานของ น.ม.ส. เรื่อง สามกรุง ที่
                     กล่าวถึงการเมืองการปกครองของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ แล้วมีสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้
                     เป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง จุดเน้นของเรื่องจึงเน้นไปที่ประเด็นการเมืองการปกครองที่ครอบคลุมทั้งเรื่องเอาไว้

                     มากกว่าประเด็นของสงคราม หรือในบท “คนดีศรีอยุธยา” ของทวีปวร  ก็จะกล่าวถึงคุณูปการของนายปรีดี
                     พนงยงค์ไว้มากกว่าเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเป็นบทกวีที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อรําลึกถึงนายปรีดี พนมยงค์

                     นั่นเอง หากแต่เหตุการณ์สงครามครั้งนี้เป็นเพียงเหตุการณ์ที่ทวีปวรยกมากล่าวถึงความสามารถและความ
                     กล้าหาญของนายปรีดี พนงยงค์เท่านั้น ไม่ใช่แก่นของเรื่องที่กวีต้องการกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น

                     เหตุการณ์หลัก

                            ภาพที่กวีร่วมสมัยสะท้อนผ่านบทกวีนิพนธ์ ส่วนใหญ่จะเห็นได้ว่าคือภาพแทน (representation)
                     ของเหตุการณ์ในสงครามครั้งนั้นทั้งหมด กวีจะมองโลกแบบมุมกว้างมากกว่ามุมแคบ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่

                     กวีกล่าวถึงความสูญเสียที่เป็นสากลโดยเลือกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของเหตุการณ์มาเป็นตัวแทน เช่น การ
                     กล่าวถึงการสูญเสียชายหัวหน้าครอบครัวของสตรีและเด็ก รวมทั้งทหารและครอบครัวด้วย อุชเชนีเลือก

                     กล่าวถึงภาพความลําบาก ทุกข์ทน อันเนื่องมากจากการสูญเสียหัวหน้าครอบครัวของครอบครัวหนึ่งมาเป็น
                     ตัวแทนของครอบครัวอีกหลายร้อย หลายพัน หรืออาจจะถึงหลายแสน หลายล้านครอบครัวในโลกที่ต้องพบ

                     กับภาวะเช่นนี้ไม่แตกต่างกัน หรือในส่วนที่เป็นการตําหนินั้น ไม่ว่าจะเป็นการตําหนิญี่ปุ่น ตําหนิผู้นําประเทศ
                     ตําหนิคนแบบกลางๆ โดยไม่ได้เจาะจงว่าเป็นใคร ตลอดจนตําหนิผู้ที่หากําไรจากการเกิดสงครามครั้งนี้ ก็จะ

                     เป็นการตําหนิในลักษณะเดียวกัน คือกล่าวโทษและด่าว่าบุคคลหรือกลุ่มคนดังกล่าว และในที่สุดก็ชี้ไปถึงว่า
                     สงครามที่พวกเขาเกี่ยวข้องหรือก่อให้เกิดนั้น ส่งผลกระทบอันเลวร้ายต่อผู้อื่นอย่างแสนสาหัสมากเพียงใด

                            สรุปได้ว่าการมองเหตุการณ์และผลกระทบของเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ของกวีร่วมสมัย

                     ส่วนใหญ่จะออกมาเป็นภาพเดียวกัน อาจต่างกันไปที่รายละเอียดบ้างเท่านั้นว่ากวีคนไหนจะเน้นที่ประเด็นใด
                     เป็นสําคัญ ไม่ว่ากวีจะเป็นชายหรือหญิง อยู่ในฐานะ ตําแหน่งแห่งที่ใดในสังคม กวีก็จะยังคงคิดว่าสงคราม
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191