Page 159 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 159

158      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       การวิเคราะห์ข้อโต้แย้งต่างๆ ในความเรียง “ว่าด้วยเรื่องกิโยติน” นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเรื่อง
                “เหตุผลลวง” ที่ใช้อธิบายความชอบธรรมของโทษนี้และการวิพากษ์ “อํานาจนิยม” ของรัฐและสังคมฝรั่งเศส

                ร่วมสมัย ได้นําเรามาสู่สมมติฐานที่ว่า แท้จริงแล้ว โทษประหารชีวิตนี้ไม่ได้ทําหน้าที่เป็นเครื่องมือในการลด
                แรงจูงใจ ในการทําความผิดอย่างที่ผู้สนับสนุนมักจะนํามากล่าวอ้าง  กล่าวคือ หน้าที่ในการเป็นตัวอย่างที่มัก
                จะถูกใช้เป็นคําอธิบายรองรับฐานความคิดว่าด้วยการปกป้องสังคมนั้นเป็นเพียง “มายาคติ” ที่ถูกสร้างขึ้นมา

                เพื่อรองรับความชอบธรรมเท่านั้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมฝรั่งเศสหลังสงครามโลก ความชอบธรรมของ
                โทษนี้ไม่ได้มาจากบทบาทด้านความยุติธรรมของมัน หากแต่มาจากเหตุผลอื่น นั่นก็คือเหตุผลทางประวัติศาสตร์

                และทางอุดมการณ์การเมือง

                       เพื่อที่จะทําความเข้าใจสมมติฐานนี้ เราจําเป็นจะต้องกลับไปพิจารณาบริบททางสังคมการเมืองของ
                ฝรั่งเศสในช่วงที่มีการวางรากฐานใหม่ให้กับโทษประหารชีวิต ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในบทนํา การปฏิวัติฝรั่งเศส
                                                                     69
                ได้ทําการเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการประหารชีวิต “พลเมือง”   จากเดิมที่มีหลายรูปแบบ (ขึ้นอยู่กับ
                ลักษณะของโทษและฐานันดรของอาชญากร)  ให้เหลือเพียงรูปแบบเดียว  รูปแบบใหม่นี้จะเป็นรูปแบบที่
                ฝรั่งเศสใช้จนกระทั่งมีการยกเลิกโทษนี้ใน ค.ศ.1981


                       การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นการตัดสินใจทางการเมืองที่มีนัยสําคัญ เพราะเป็นหนึ่งในกระบวนการ

                “ล้มล้าง “ระบอบเก่า”  ที่เต็มไปด้วยอภิสิทธิ์และความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนในสังคม ในขณะเดียวกัน
                ก็ถือเป็นการ “สถาปนา”  รูปแบบ “ใหม่”  ของการลงโทษที่อยู่บนฐานของความเท่าเทียมกัน  ดังนั้นโทษ
                ประหารชีวิตในรูปแบบใหม่นี้จึงเป็นทั้งองค์ประกอบและฐานค้ํายันให้กับหลักการแห่งการปฏิวัติ  การเปลี่ยน

                แปลงนี้จึงถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งในการรับรองสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองภายใต้การปกครองใหม่ที่เรียกว่า

                “สาธารณรัฐ”

                       เมื่อพิจารณาวิวัฒนาการของการเกิดขึ้นของแนวคิดเรื่องรัฐชาติฝรั่งเศส (État-nation) เราจะเห็นว่า

                มันเริ่มก่อตัวอย่างเป็นรูปธรรมมาจากแนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพของนักคิดแห่งศตวรรษที่ 18 และได้พัฒนามา
                                                        70
                ถึงขีดสุดด้วยการเกิดขึ้นของ “อํานาจนิยมแห่งรัฐ”   หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยกามูส์ได้ถ่ายทอดภาพ
                ของวิวัฒนาการนี้ในประโยคที่ลึกลับ เหมือนดั่งเป็นการร้องเตือนให้ฉุกนึกถึงความต่อเนื่องที่ย้อนแย้งนี้ว่า




                       69   เราอาจกล่าวได้ว่า  จาก “ราษฎร”  ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  คนฝรั่งเศสได้กลายเป็น “พลเมือง”
                ในชั่วเวลาข้ามคืน โดยมี “คําประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยนชนและพลเมือง” (Déclaration des droits de l’homme et du
                citoyen) เป็นหลักประกัน “สิทธิ เสรีภาพและภราดรภาพ” (liberté égalité fraternité) ของพลเมืองทุกคน.
                       70   ผู้เขียนบทความใช้คํานี้โดยอ้างอิงถึงแนวคิดของกามูส์ในความเรียง “ว่าด้วยเรื่องกิโยติน” ที่ว่าสังคมและ
                รัฐฝรั่งเศสได้กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดหรือคุณค่าสูงสุดที่ไม่สามารถแตะต้องได้ แทนที่คุณค่าและศรัทธาของศาสนา.
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164