Page 157 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 157
156 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
60
ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ความชอบธรรมของโทษสูงสุดนี้จึงอยู่ตรง ที่มันไม่ได้เป็นโทษสูงสุดนั่นเอง” มันเป็น
61
เพียงแค่โทษชั่วคราวบนโลกมนุษย์และอาจจะเป็นโอกาสให้นักโทษได้ “สํานึกผิด” ด้วยซ้ําไป
กามูส์จึงตั้งคําถามต่อไปว่า แล้วในสังคมฝรั่งเศสปัจจุบันที่สถาบันต่างๆ กลายเป็นสถาบันทาง
ฆราวาสที่ค่านิยมมิได้ผูกติดกับความเชื่อทางศาสนาอีกต่อไปแล้ว โทษนี้จะมีความชอบธรรมอยู่ได้อย่างไร?
โดยสรุป [ผู้พิพากษา] ตัดสินฆ่าคนเพราะบรรพบุรุษของเขาเคยเชื่อในชีวิตอมตะ แต่สังคม
ที่เขาอ้างว่าเขาเป็นตัวแทนนั้น แท้จริงแล้วได้ออกมาตรการเพื่อกําจัดทิ้ง สังคมทําลายชุมชน
ของมนุษย์ซึ่งรวมตัวกันได้ก็เพราะต่อต้านความตายร่วมกัน และสถาปนาตนเองให้เป็นคุณค่า
อันสูงสุด โดยการอ้างอํานาจสูงสุด (Camus, 1979 [1957]: 163).
นี่คือการประณามความเป็น “อํานาจนิยม” ของสังคม ที่อ้างความดีงามเพื่อใช้มันประหัตประหารคนใน
สังคมเอง ที่อ้างการปกป้องดูแลคนในสังคมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการสถาปนาตนเองให้กลายเป็น
อํานาจสูงสุด ดังนั้น สังคมจึงกลายเป็น “สิ่งศักด ิ์สิทธิ์” เสียเองซึ่งขัดแย้งกับหลักการปฏิเสธพระเจ้าและสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงที่เป็นฐานทางคุณค่าให้กับรัฐฝรั่งเศสตั้งแต่การปฏิวัติค.ศ.1789 เป็นต้นมา “เราฆ่าเพื่อสังคม
62
ในอนาคต สังคมที่ได้กลายเป็นพระเจ้าเอง”
63
เพราะฉะนั้น การปฏิเสธโทษประหารชีวิตจึงเป็นการปฏิเสธ “การครอบงําของรัฐ” ด้วยเช่นกัน
“ห้ามการปลิดชีวิตคนย่อมเท่ากับการประกาศก้องต่อสาธารณชนว่าสังคมและรัฐไม่ใช่คุณค่าสูงสุดที่แตะต้อง
ไม่ได้ เป็นการตราฎีกาว่าสังคมและรัฐไม่มีอํานาจในการพิพากษาโทษขั้นสูงสุดหรือผลิตสิ่งที่ไม่สามารถจะ
65
64
แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้” เพราะท้ายสุดแล้ว กามูส์เชื่อว่า “ชีวิตมนุษย์อยู่เหนือรัฐ” โทษประหารชีวิตจึง
60 “Les valeurs religieuses, et particulièrement la croyance à la vie éternelle, sont donc seules à
pouvoir fonder le châtiment suprême puisqu’elles empêchent, selon leur logique propre, qu’il soit
définitif et irréparable. Il n’est alors justifié que dans la mesure où il n’est pas suprême.” (Camus, 1979
[1957]: 161).
61 “[la peine capital] peut favoriser sa rédemption.” (Camus, 1979 [1957]: 162).
62 “On tue pour une société future, divinisée elle aussi.” (Camus, 1979 [1957]: 165).
63 “contre l’oppression étatique” (Camus, 1979 [1957]: 165-166).
64 “Interdire la mise à mort d’un homme serait proclamer publiquement que la société et l’État
ne sont pas des valeurs absolues, décréter que rien ne les autorise à légiférer définitivement, ni à
produire de l’irréparable.” (Camus, 1979 [1957]: 166).
65 “que la personne humaine est au-dessus de l’État” (Camus, 1979 [1957]: 166).