Page 155 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 155
154 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
50
ธรรมชาติได้” ดังนั้น โทษประหารชีวิตนี้จึงสวนทางกับหลักวิชาและเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างมี
นัยสําคัญ
จากนั้น กามูส์ดึงประเด็นของการโต้แย้งมาที่แนวคิดเรื่อง “ความรับผิดชอบ” และ “ความผิด”
โดยตั้งคําถามว่า “แต่สังคมที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนของเหยื่อสามารถที่จะทําหน้าที่นี้โดยอ้างความบริสุทธิ์
ผุดผ่องของตนเองได้แน่หรือ? สังคมน่าจะมีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่สังคมลงโทษด้วยความเข้มงวด
51
52
ไม่มากก็น้อยมิใช่หรือ?” เพราะ “สังคมทุกสังคมผลิตอาชญากรที่สะท้อนภาพของสังคมนั้นเอง” ข้อโต้
แย้งเรื่อง “ความผิด” นี้ยังไปเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อที่ว่าคนเหล่านี้เป็นบุคคลที่ไม่สามารถกลับตัวกลับใจได้
53
ดังนั้น เราจึงต้อง “กําจัด” พวกเขาออกไปเสีย แต่ “เราจะมั่นใจได้จริงหรือว่าผู้ต้องโทษประหารชีวิตทุกคน
54
ไม่สามารถกลับตัวกลับใจได้? เราสามารถที่จะให้สัตยาบันได้เลยหรือว่าเขาไม่ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แน่ๆ?” นี่คือ
ประเด็นเรื่องของโอกาสที่สถาบันยุติธรรมจะตัดสินผิดพลาดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
นอกจากนี้ การตัดสินใจที่จะตัดสินโทษประหารชีวิตนั้นมากจากดุลยพินิจของผู้พิพากษา ซึ่งตัวเขา
เองก็อยู่ในบริบทของความเชื่อและค่านิยมที่เฉพาะเจาะจง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง
ดังนั้น “ผู้ปกครองทราบดีอยู่แล้วว่าเวลาและค่านิยมเปลี่ยนแปลงเสมอ เมื่อวันใดวันหนึ่งที่คนผิดซึ่งถูก
55
ประหารชีวิตเร็วเกินไปจะได้กลายมาเป็นคนที่โหดเหี้ยมน้อยลง [ในสายตาของสังคม] ก็จะมาถึง” เมื่อเป็น
ดังนี้แล้วโทษประหารชีวิตจึงเป็นการตัดสินบนฐานความผิดที่ไม่สัมบูรณ์ (เพราะเป็นความผิดที่สัมพันธ์กับสิ่ง
50 “Il s’agit d’un sentiment, et particulièrement violent, non d’un principe. Le talion est de
l’ordre de la nature et de l’instinct, il n’est pas de l’ordre de la loi. La loi, par définition, ne peut obéir
aux même règles que la nature.” (Camus, 1979 [1957]: 140).
51 “Mais la société qui est censée la représenter peut-elle prétendre à l’innocence? N’est-elle
pas responsable, au moins en partie, du crime qu’elle réprime avec tant de sévérité?” (Camus, 1979
[1957]: 147).
52 “toute société a les criminels qu’elle mérite.” Camus, 1979 [1957]: 147 โดยกามูส์
ยกตัวอย่างเรื่องกฎหมายอนุญาตให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศฝรั่งเศส
ซึ่งส่งผลให้คนฝรั่งเศสเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง.
53 “les supprimer” (Camus, 1979 [1957]: 151).
54 “Peut-on nous assurer qu’aucun des exécutés n’est récupérable? Peut-on même jurer
qu’aucun n’est innocent?” (Camus, 1979 [1957]: 151) และกามูส์ได้ยกตัวอย่างการตัดสินคดีที่ผิดพลาดใน
หลายประเทศและผลของการคํานวณความน่าจะเป็นว่าจะมีผู้บริสุทธิ์ที่ถูกตัดสินกี่คน (Camus, 1979 [1957]: 151-154).
55 “Ils [nos gouvernants] doivent savoir que le temps et les moeurs changent; un jour vient où le
coupable, trop vite exécuté, n’apparaît plus si noir.” (Camus, 1979 [1957]: 155).