Page 158 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 158

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   157


                                                                                                       66
                     จึงเป็นเพียง “โรคร้าย” ของสังคมฝรั่งเศสและสังคมยุโรปที่ “ไม่เชื่อในอะไรเลยและทําตัวเหมือนรู้ทุกอย่าง”

                            กามูส์จบความเรียงของเขาด้วยการเน้นย้ําจุดยืนทางความคิดที่ไม่ใช่ “อุดมการณ์สิทธิมนุษยชน” ว่า

                     “ความเชื่อเกี่ยวกับความดีที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามหรือความศรัทธาในยุคพระศรีอาริย์ที่จะมา
                     ถึงไม่สามารถอธิบายจุดยืนคัดค้านโทษประหารชีวิตนี้ของข้าพเจ้าได้  ในทางตรงกันข้าม ข้าพเจ้าเห็นว่าการ

                     ยกเลิกโทษประหารชีวิตมีความจําเป็นเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ จากการมองโลกในแง่ร้ายที่ผ่านการ
                                                                            67
                     ตริตรองมาแล้ว จากตรรกะและจากการมองความเป็นจริงแบบสัจนิยม”   และเขาได้เรียกร้องให้ยกเลิกโทษ
                     ประหารชีวิตด้วยประโยคปิดท้ายว่า “ไม่มีทางจะมีสันติสุขที่ยั่งยืนได้ ทั้งในหัวใจของปวงชน ทั้งในค่านิยมของ
                                                                         68
                     สังคม หากโทษประหารชีวิตไม่ได้ถูกทําให้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย”

                       จากกิโยตินสู่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์: ว่าด้วยการเผชิญหน้ากับความจริงของสังคม

                            จะเห็นได้ว่าความเรียง “ว่าด้วยเรื่องกิโยติน” ของกามูส์นี้มีโครงสร้าง ลีลา ตลอดจนน้ําเสียงของการ
                     เป็นบทความอภิปรายที่มุ่งหักล้างเหตุผลของกล ุ่มผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตอย่างมีตรรกะและเป็นระบบ

                     จากการวิเคราะห์การใช้ภาษาที่ทําให้เกิดวาทกรรมและมายาคติชุดหนึ่งเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตในสังคม
                     ฝรั่งเศสร่วมสมัย กามูส์ได้เชื้อเชิญผู้อ่านให้เดินทางเข้าสู่ปริมณฑลแห่งการโต้แย้งอย่างเต็มรูปแบบ  ข้ออ้าง

                     เรื่อง “ความเป็นตัวอย่าง”  ที่ใช้สนับสนุนโทษสูงสุดนี้ถูกโจมตีและหักล้างด้วยเหตุผลที่หลากหลายทั้งเชิง
                     ตรรกะและเชิงประจักษ์  ประเด็นเรื่องความชอบธรรม ความผิดและความรับผิดชอบถูกอธิบายด้วยหลัก
                     จิตวิทยา ด้วยหลักการเชิงศีลธรรมและด้วยความเชื่อในคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่อยู่ในความเป็นตัวตนของ

                     กามูส์เอง งานเขียนชิ้นนี้สะท้อนความเป็นนักคิด นักหลักการและนักต่อสู้เพื่อความถูกต้องของกามูส์

                     แต่ในขณะเดียวกันแง่มุมทางมนุษยนิยม ศีลธรรมและปรัชญาก็ได้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างแยบคายภายใต้
                     คมปากกาของ “คนขบถ” ผู้นี้เช่นกัน







                            66  “La maladie de l’Europe est de ne croire à rien et de prétendre tout savoir.” (Camus, 1979
                     [1957]: 166).

                            67  “ce ne sont pas des illusions sur la bonté naturelle de la créature, ni la foi dans un âge doré à
                     venir, qui expliquent mon opposition à la peine de mort. Au contraire, l’abolition me paraît nécessaire
                     pour des raisons de pessimisme raisonné, de logique et de réalisme.” (Camus, 1979 [1957]: 167).
                            68  “Ni dans le coeur des individus ni dans les moeurs des sociétés, il n’y aura de paix durable
                     tant que la mort ne sera pas mise hors de la loi.” (Camus, 1979 [1957]: 170).
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163