Page 160 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 160

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   159



                     “จากภาพสวยงามชวนฝันเรื่องสิทธิมนุษยชนในศตวรรษที่ 18 จนถึงกิโยตินที่เปื้อนเลือด หนทางเป็นเส้นตรง
                                                                        71
                     และเพชฌฆาตในวันนี้ก็เป็นนักมนุษยนิยมอย่างที่ทุกคนรู้ดีอยู่แล้ว”

                            ดังนั้น โทษประหารชีวิตซึ่งเคยเป็นหนึ่งในหลักประกันคุณค่าของสาธารณรัฐตลอดช่วงศตวรรษที่ 19
                     ได้กลายมาเป็นเพียงแค่สมบัติอันหนักอึ้งทางอุดมการณ์ของฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ 20  โดยมี “กิโยติน”
                                                                                       72
                     เป็นภาพแทนเชิงสัญลักษณ์ที่หล่อเลี้ยงจินตนาการสาธารณะมาเป็นเวลาร่วม 200  ปี   แต่ในยุคของระเบิด
                     นิวเคลียร์และยุคสงครามเอกราช การสร้างความชอบธรรมให้แก่สาธารณรัฐโดยผ่านโทษประหารชีวิตอัน

                     ล้าหลังนี้จึงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกเสียจากเป็นการสร้างหอคอยบนซากปรักหังพังของอุดมการณ์ทางการ
                     เมืองที่รอวันถล่มลงทับตัวมันเอง ซึ่งฝ่ายซ้ายก็ตระหนักถึงอันตรายข้อนี้ดี จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่ารัฐบาลที่
                                                                                  73
                     ตัดสินใจยกเลิกโทษสูงสุดนี้จําเป็นจะต้องเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคฝ่ายซ้ายเอง   เช่นเดียวกันกับที่ครั้งหนึ่ง
                     การปฏิวัติเคยเป็นความก้าวหน้าทางความคิดที่นําสมัย การยกเลิกโทษประหารชีวิตนี้ก็ถือเป็นการตัดสินใจ
                     ทางการเมืองที่ล้ํายุคและล้ําหน้ามายาคติของคนในสังคมฝรั่งเศสเช่นเดียวกัน เพราะในปี ค.ศ. 1981  นั้น

                                                                 74
                     คนฝรั่งเศสส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยกับการคงไว้ซึ่งโทษสูงสุดนี้

                            เราจะเห็นว่าความกล้าหาญในการตัดสินใจทางการเมืองเป็นสิ่งที่สําคัญ การยกเลิกโทษสูงสุดนี้เป็น
                     การย้ํา  และยืนยันหลักคิดของการกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายของฝรั่งเศสที่ว่าเจตจํานงสูงสุดของ

                     กฎหมายแห่งสาธารณรัฐนี้ ท้ายที่สุดจะต้องเป็นไปเพื่อขยายขอบเขตของสิทธิเสรีภาพของประชาชน  สิทธิ

                            71  “Des idylles humanitaires du XVIIIe siècle aux échafauds sanglants, la route est droite et les
                     bourreaux d’aujourd’hui, chacun le sait, sont humanistes.” (Camus, 1979 [1957]: 167).
                            72   ตั้งแต่ ค.ศ. 1792  ฝรั่งเศสประหารชีวิตนักโทษโดยใช้กิโยตินเรื่อยมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1981   ที่มีการยกเลิก
                     โทษประหารชีวิต.

                            73   เหตุผลที่ฝรั่งเศสไม่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตก่อนหน้าปี ค.ศ. 1981  (ซึ่งถือว่าช้ามาเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
                     ในยุโรปตะวันตก) ก็เป็นเพราะว่าในต้นศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่หลังสงครามโลกเป็นต้นมา ฝรั่งเศสยังไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง
                     มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐฝรั่งเศสหลายครั้ง กล่าวคือ ฝรั่งเศสปกครองโดยสาธารณรัฐที่ 3 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871 ถึงช่วง
                     ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2, รัฐบาลแห่งชาติภายใต้การครอบงําของนาซีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2, รัฐบาลชั่วคราว, สาธารณรัฐที่
                     4  ที่มีอายุเพียงหนึ่งทศวรรษ มาจนถึงสาธารณรัฐที่ 5 ที่ก่อตั้งโดยเดอ โกลล์ (de  Gaulle)  ฝรั่งเศสจึงเริ่มมีเสถียรภาพ
                     ทางการเมือง  ตลอดระยะเวลาที่กล่าวมานี้ ฝรั่งเศสมีรัฐบาลที่มาจากฝ่ายขวาและฝ่ายขวากลางมาโดยตลอด แต่ในปี 1981
                     นับเป็นครั้งแรกในรอบ 20 กว่าปี ภายใต้การปกครองโดยสาธารณรัฐที่ 5 ที่ฝรั่งเศสเลือกประธานาธิบดีที่มาจากฝ่ายซ้าย

                     ฟรองซัวซ์ มิแตร์รอง (François Mitterrand).
                            74  จากการสํารวจความคิดเห็นของคนฝรั่งเศสที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Le Parisien ในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1981
                     63% ของคนฝรั่งเศสเห็นว่าควรจะยังคงโทษประหารชีวิตไว้ [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
                     http://www.criminocorpus.cnrs.fr/expositions/consultation.php?visiter&id=38&image&idimg=437&zoom=1.0
                     [3 สิงหาคม 2553].
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165