Page 161 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 161
160 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ของความเป็นมนุษย์จะต้องอยู่เหนือเหตุผลลวงเรื่อง “ความสงบสุข” ของสังคม กฎหมายจะต้องเป็นเรื่องของ
หลักการและเหตุผล หาใช่เรื่องของอารมณ์ความรู้สึกไม่ เพราะ “กระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับอาชญากรรม
ร้ายแรงโดยมีชีวิตเป็นเดิมพันนั้นไม่ควรเป็นเรื่องของโอกาสหรือโชคชะตา” (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย,
2548: 2)
ในท้ายที่สุดแล้ว การให้คุณค่ากับสิทธิ เสรีภาพและความเป็นมนุษย์ของคนทุกคนก็คือการประกัน
สิทธิ เสรีภาพและความสงบสุขของสังคมในเวลาเดียวกันนั่นเอง โทษประหารชีวิตขัดกับหลักการพื้นฐานนี้
อย่างชัดเจน เพราะสารัตถะที่แท้จริงของโทษประหารชีวิตก็คือการทําลายคุณค่าพื้นฐานที่มนุษย์มีร่วมกัน
นั่นก็คือ “ความเห็นอกเห็นใจ” ดังที่กามูส์กล่าวไว้ว่า “โทษประหารชีวิตทําลายความเห็นอกเห็นใจจริงแท้
75
หนึ่งเดียวที่มนุษย์มีร่วมกัน ความเห็นอกเห็นใจเบื้องหน้าความตาย”
แท้จริงแล้ว วิวาทะเรื่องโทษประหารชีวิตนี้ควรจะเป็นโอกาส
ให้คนในสังคมได้ตั้งคําถามถึงกระบวนทัศน์ที่เป็นฐานรองรับระเบียบ
และคุณค่าทางสังคม นั่นคือคําถามถึงแก่นรากของปรัชญาการลงโทษ
ถึงแก่น รากของกฎหมายและถึงแก่นรากของประเด็นปัญหาทางสังคม
อื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังที่มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) นักคิดคน
มิเชล ฟูโกต์ (ค.ศ. 1926-1984)
สําคัญของโลกยุคหลังสมัยใหม่ได้เสนอในปี ค.ศ.1981 ในช่วงที่ฝรั่งเศส
ร้อนระอุไปด้วย การถกเถียงเรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต “เราต้องออกจากสถานการณ์ปัจจุบัน [...] เป็น
เวลาเกือบสองศตวรรษแล้วที่ระบบอาญาของเราเป็น ‘ระบบผสม’ เราต้องการลงโทษและเราต้องการแก้ผิด
ให้เป็นถูก เราผสมระหว่างวิธีปฏิบัติทางกฎหมาย [ลงโทษ] กับวิถีปฏิบัติทางมานุษยวิทยา [แก้ผิดให้
76
เป็นถูก]” ฟูโกต์ชี้ให้ เห็นถึงความขัดแย้งในกระบวนทัศน์นี้และตั้งคําถามว่า
แต่เราควรจะต้องแก้ไขวิธีปฏิบัติทางอาญานี้อย่าง ถอนร่างถอนโคนหรือไม่? วิธีปฏิบัติ
นี้ที่ยืนยันว่าเราต้องแก้ผิดให้เป็นถูก แต่ก็ยืนยันอีกเช่นกันว่าคนบางพวกไม่สามารถ และไม่มี
ทางที่จะแก้ไขได้โดยธรรมชาติ โดยบุคลิกของเขา โดยการกําหนดมาก่อนล่วงหน้าแล้ว
75 “Le jugement capital rompt la seule solidarité humaine indiscutable, la solidarité contre la
mort” (Camus, 1979 [1957]: 160).
76 “Il faut sortir de la situation actuelle [...] Depuis bientôt deux siècles, notre système pénal est
‘mixte’. Il veut punir et il entend corriger. Il mêle donc les pratiques juridiques et les pratiques
anthropologiques.” (Foucault, 2001: 1027).