Page 156 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 156
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 155
อื่นเสมอ ไม่ได้เกิดขึ้นหรือมีอยู่ลอยๆ ตัดขาดออกจากค่านิยมและมุมมองของสังคม) ด้วยโทษทัณฑ์ที่เด็ดขาด
เบ็ดเสร็จและไม่สามารถเรียกชีวิตกลับคืนได้ ในแง่นี้การโต้แย้งเรื่องการคงไว้หรือยกเลิกโทษประหารชีวิต
จึงเป็นการโต้แย้งระหว่างผู้ที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนควรจะได้รับโอกาสกับผู้ที่เชื่อว่าไม่มีโอกาสเหลืออีกต่อไปแล้ว
สําหรับฆาตรกร (Camus, 1979 [1957]: 158)
กามูส์ยังกล่าวต่อไปอีกด้วยว่า การตัดสินจบชีวิตคนๆ หนึ่งนั้นหมายถึงการมองว่าเขาไม่มีทางจะแก้
ตัวได้ แต่จะมีใครเล่าที่จะมีสิทธิ์ตัดสินความเป็นความตายของคนอื่น นอกเสียจากว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
56
ไร้ที่ติ “หากปราศจากความบริสุทธิ์แบบสัมบูรณ์ก็ไม่อาจมีผู้พิพากษาโทษสูงสุดได้” และนี่คือการเคารพ
“สิทธิของการมีชีวิต” ของผู้อื่นเพราะ “สิทธิของการมีชีวิตที่มาคู่กับโอกาสในการแก้ตัวนี้เป็นสิทธิทาง
ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน และก็เป็นสิทธิที่เลวร้ายที่สุดด้วยเช่นกัน อาชญากรที่เลวที่สุดกับผู้พิพากษาที่มี
คุณธรรมที่สุดจึงยืนอยู่เคียงข้างกันอย่างเท่าเทียม ณ ที่นี่ [เบื้องหน้าสิทธิของการมีชีวิต] ทั้งคู่ร่วมชะตากรรม
ในความทุกข์ยากและในความสมัครสมานสามัคคีอย่างเท่าเทียมกัน หากปราศจากสิทธินี้ชีวิตทางศีลธรรมก็
57
ไม่มีทางเกิดขึ้นได้”
เราจะเห็นว่าหลังจากที่กามูส์ได้ชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วโทษประหารชีวิตนั้นคืออะไร เขาได้นําผู้อ่าน
มาสู่ข้อสรุปที่ว่า คําสนับสนุนโทษประหารชีวิตที่มักจะถูกนํามาอ้างกันในสังคมฝรั่งเศสร่วมสมัยนั้นไร้เหตุผล
ไร้ฐานทางหลักวิชาและขัดแย้งกับประเด็นทางศีลธรรมอย่างไม่อาจจะประสานกันได้
แต่เหตผุลเดียวที่สร้างความชอบธรรมให้กับโทษประหารชีวิตจําเป็นจะต้องใช้คําอธิบายในเชิง
ประวัติศาสตร์ของการเกิดโทษประหารชีวิตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อของศริสต์ศาสนา กล่าวคือในสมัย
58
สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น โทษนี้คือ “โทษทางศาสนา” ในนามของกษัตริย์ซึ่งเป็นตัวแทนของพระเจ้าบน
โลกมนุษย์ แม้โทษประหารชีวิตจะจบชีวิตของอาชญากรบนโลกมนุษย์ แต่โอกาสในการแก้ตัวของเขานั้นมิได้
59
ถูกทําให้หมดสิ้นไปเพราะ “คําพิพากษาที่แท้จริงนั้นยังไม่ได้ถูกเปล่งออกมา” ดังนั้น “คุณค่าทางศาสนา
โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องชีวิตอมตะหลังความตายนั้นเป็นสิ่งที่เดียวที่สามารถเป็นฐานรองรับให้กับโทษสูงสุด
นี้ได้ เพราะตรรกะเชิงศาสนานี้เองที่ขัดขวางไม่ให้โทษประหารชีวิตกลายเป็นโทษสุดท้ายและกลายเป็นโทษ
56 “Sans innocence absolue, il n’est point de juge suprême.” (Camus, 1979 [1957]: 159).
57 “Le dernier des criminels et le plus intègre des juges s’y retrouvent côte à côte, également
misérables et solidaires. Sans ce droit, la vie morale est strictement impossible.” (Camus, 1979 [1957]:
159).
58 “une peine religieuse” (Camus, 1979 [1957]: 161).
59 “Le jugement réel n’est pas prononcé” (Camus, 1979 [1957]: 161).