Page 162 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 162

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   161



                             ทางกายภาพและจิตวิทยา หรือเป็นเพราะว่าหากกล่าวอย่างง่ายๆ  สั้นๆ  แล้ว เนื้อแท้
                                                  77
                             ของพวกเขานั้นเป็นอันตราย

                            วิวาทะเรื่องโทษประหารชีวิตนี้ควรจะเป็นโอกาสของการไตร่ตรองและตั้งคําถามในเชิงกฎหมาย

                     การเมืองและสังคม มันควรจะเป็นพื้นที่ของการทบทวนประสบการณ์ การทดลองค้นหาและการเปลี่ยนแปลง
                     ฟูโกต์ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่สังคมต้องเปลี่ยน และสิ่งที่ต้องเปลี่ยน คือ “การเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนท่าทีที่

                                             78
                     มนุษย์เผชิญหน้ากับความจริง”

                            และนี่คือคําถามถึงรูปแบบและหน้าตาของสังคมในจินตนาการที่เราต้องการจะเห็น

                             เราต้องการให้การอภิปรายเรื่องโทษประหารชีวิตเป็นอะไรที่มากไปกว่าการถกเถียง

                             เกี่ยวกับวิธีลงโทษที่ดีที่สุดหรือไม่?   เราต้องการให้มันเป็นโอกาสและการเริ่มต้นของ
                             การตรึกตรองใหม่เกี่ยวกับการเมืองหรือไม่? การถกเถียงนี้จะต้องเริ่มทบทวนจากแก่นรากของ
                             ปัญหาเรื่องสิทธ ิในการสังหารเพราะรัฐใช้สิทธิ์นั้นผ่านรูปแบบที่หลากหลาย เราต้องเริ่มจาก

                             คําถามที่ว่า  เราจะกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างเสรีภาพของปัจเจกชนกับความตายของ
                             พวกเขาอย่างยุติธรรมที่สุดได้อย่างไร โดยต้องคํานึงถึงแง่มุมทางการเมืองและทางจริยธรรม
                                    79
                             ทุกแง่มุม












                            77  “Mais va-t-on sortir radicalement d’une pratique pénale qui affirme qu’elle est destinée à
                     corriger, mais qui maintient que certains ne peuvent et ne pourront jamais l’être par nature, par caractère,
                     par une fatalité bio-psychologique, ou parce qu’ils sont en somme intrinsèquement dangereux?”
                     (Foucault, 2001: 1026).
                            78  “dans la pensée, qui est la manière dont les humains affrontent le réel.” (Foucault, 2001:
                     1029).
                            79
                              “Veut-on que le débat sur la peine de mort soit autre chose qu’une discussion sur les
                     meilleures techniques punitives? Veut-on qu’il soit l’occasion et le début d’une nouvelle réflexion
                     politique? Il faut qu’il reprenne à sa racine le problème du droit de tuer, tel que l’État l’exerce sous des
                     formes diverses. Il faut reprendre, avec toutes ses implications politiques et éthiques, la question de
                     savoir comment définir au plus juste les rapports de la liberté des individus et de leur mort.” (Foucault,
                     2001: 1025).
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167