Page 154 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 154

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   153



                            โทษประหารชีวิตเป็น “การลงโทษ สิ่งนี้ไม่มีข้อกังขาใดๆ [เป็น]  โทษทัณฑ์อันน่าสยดสยองทั้งต่อ
                     ร่างกายและต่อศีลธรรม แต่ไม่ได้ให้ตัวอย่างใดๆ  ที่แน่นอนให้ได้ประจักษ์ [ว่าโทษนี้สามารถหยุดผู้กระทําผิด

                     ไม่ให้ก่ออาชญากรรมได้]  นอกเสียจากว่ามันเป็นตัวอย่างของความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม มันเป็นมาตรการ
                                                                   44
                     ของการลงโทษ หาใช่มาตรการของการปกป้องตักเตือนไม่”    เขายังกล่าวต่อไปว่า แท้จริงแล้วโทษนี้คือ
                                         45
                     “กฎตาต่อตาฟันต่อฟัน”      ที่โบราณล้าหลัง และในบรรดาฆาตรกรรมทั้งหมด โทษประหารชีวิตคือ
                                                           46
                     “ฆาตรกรรมที่มีการไตร่ตรองไว้ก่อนอย่างดีที่สุด”  เพราะมันคือฆาตรกรรมในนามของรัฐ

                            ถึงตอนนี้ เราจะเห็นมุมมองด้านมนุษยนิยมในความคิดของกามูส์  สําหรับเขาสิ่งซึ่งโทษประหารชีวิต
                     เป็นจริงๆ นั้นคือ การลดทอนความเป็นมนุษย์ให้เหลือเพียง “สิ่งของ” เพราะ “[นักโทษ] ไม่ได้เป็นมนุษย์อีก
                                                           47
                     ต่อไป แต่เป็นสิ่งของที่รอให้เพชฌฆาตมาจัดการ”    การรอวันตาย (รวมถึงการรอการได้รับการอภัยทาน
                     จากโทษสูงสุด)  นี้เองคือ “การทรมานโดยความหวัง [ซึ่ง]  ซ้อนสลับกับการทรมานโดยความสิ้นหวังแบบ
                             48
                     เดรัจฉาน”   นี่คือ “โทษทัณฑ์ที่เลวร้ายกว่าความตายเสียอีก และเป็นสิ่งที่เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย [ที่นักโทษ
                                        49
                     ได้ฆ่า] ไม่ต้องมาประสบ”

                            เมื่อ “การแก้แค้น”  และ “การตายสองรอบ” (ทางจิตวิญญาณและทางกายภาพ) (Camus, 1979
                     [1957]: 146)  คือสิ่งที่แท้จริง  ซึ่งโทษประหารชีวิตเป็น  “มันจึงเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงเป็น

                     พิเศษ แต่ไม่ใช่เรื่องของหลักการ กฎตาต่อตาฟันต่อฟันเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติและสัณชาตญาณไม่ใช่เรื่อง
                     ของกฎหมาย   โดยคำจํากัดความแล้ว กฎหมายไม่สามารถจะเคารพบรรทัดฐานเดียวกันกับบรรทัดฐานของ










                            44  “Elle est une peine, certainement, un épouvantable supplice, physique et moral, mais elle
                     n’offre aucun exemple certain, sinon démoralisant. Elle sanctionne, mais elle ne prévient rien.” (Camus,
                     1979 [1957]: 140).
                            45
                              “le talion” (Camus, 1979 [1957]: 140).
                            46  “le plus prémédité des meurtres” (Camus, 1979 [1957]: 141).
                            47  “Il n’est plus un homme, mais une chose qui attend d’être maniée par les bourreaux.”

                     (Camus, 1979 [1957]: 143).
                            48  “La torture par espérance alterne avec les affres du désespoir animal.” (Camus, 1979 [1957]:
                     142).
                            49  “une peine plus terrible que la mort, et qui n’a pas été imposée à la victime” (Camus, 1979
                     [1957]: 142).
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159