Page 164 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 164

พรรณทิภา ชื่นชาติ










                     บทคัดย่อ

                            บทความนี้มุ่งศึกษาทัศนกวีไทยร่วมสมัยที่มีต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยศึกษาจากกวีนิพนธ์คัดสรรที่
                     ประพันธ์ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2499  ผลการศึกษาพบว่า กวีไทยมองสงครามโลกครั้งนี้ทั้งในมุมของ

                     ตนเองและมองจากมุมของผู้สูญเสีย กวีใช้กวีนิพนธ์เพื่อวิพากษ์และแสดงความคิดเห็นของตน ตลอดจนใช้เพื่อ
                     เรียกร้องแทนผู้สูญเสียจากเหตุการณ์สงคราม นอกจากนี้กวียังมีมุมมองในเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเด็นของ

                     สิทธิทางการเมืองและเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการปกป้องทรัพย์สมบัติ สิทธิความเป็น
                     ส่วนตัว สิทธิในอาหาร สุขภาพ และที่อยู่อาศัย ตลอดจนสิทธิในการมีชีวิตอยู่  กวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ที่นํามาเป็น

                     ข้อมูลในการศึกษานี้จึงเป็นวรรณกรรมที่มีสารสําคัญตอกย้ําภาพความสูญเสียจากเหตุการณ์สงคราม และ
                     ชี้ให้เห็นคุณค่าของสันติภาพอย่างชัดเจน
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169