Page 153 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 153

152      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                         เขาอาจถูกประหารชีวิตได้นั้นไม่อาจจะหยุดการกระทําของเขาได้ หนำซ้ํามันกลับจะช่วย
                                                                    40
                         เพิ่มความพลุ่งพล่านที่ตัวเขาเองกําลังหลงเข้าไปให้มากยิ่งขึ้น

                       สําหรับกามูส์  เหตุผลทางจิตวิทยาที่ง่ายที่สุดนี้สามารถอธิบายได้ว่าทําไมโทษประหารชีวิตที่ควรจะ

                ทําหน้าที่ลดแรงจูงใจในการก่ออาชญากรรมจึงไม่ประสบความสําเร็จอย่างที่ควรจะเป็น

                       ยิ่งไปกว่านั้น สถิติในหลายๆประเทศชี้ให้เห็นว่าไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ  ระหว่างการยกเลิกโทษ
                ประหารชีวิตและสถิติการก่ออาชญากรรมเลยแม้แต่น้อย  เพื่อตอบข้อโต้แย้งของผู้สนับสนุนโทษนี้ที่ว่าเรา

                ไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามีอีกกี่คนที่เลือกที่จะไม่ก่อฆาตรกรรมเพราะเกรงกลัวโทษนี้  กามูส์ชี้ให้เห็น “ทัศนคติอัน
                ขัดแย้งในตัวของมันเอง” ของความเชื่อเช่นนี้ว่า การลงมือประหารชีวิตเป็นเรื่องของการจบชีวิตของคนโดยที่

                เราไม่มีทางเรียกชีวิตเขาคืนได้ เป็นเรื่องของการตัดสินใจที่ไม่สามารถย้อนคืนได้ แต่การตัดสินใจนี้กลับอยู่บน
                                                41
                “ความเป็นไปได้ที่ไม่สามารถจะพิสูจน์ได้”   จากเหตุผลของผู้สนับสนุนที่ได้ยกมานั้น ผู้ถูกตัดสินประหารชีวิต
                ไม่ได้ถูกตัดสินจากโทษที่เขาก่อแต่ถูกตัดสินประหารชีวิต“ในนามของอาชญากรรมทุกๆ อาชญากรรมที่ควรจะ
                                                         42
                ถูกทําให้เกิดแต่มันไม่เคยเกิด ที่อาจจะเกิดแต่ไม่เกิด”  เพราะอาชญากรเกรงกลัวโทษประหารชีวิตเสียจนเลิก
                ล้มการก่ออาชญากรรม


                       เราควรจะยอมรับทัศนคติแบบนี้ที่ตั้งอยู่บนการคาดคะเนแบบนี้หรือ? เรายอมให้รัฐใช้มันเพื่ออธิบาย

                ความชอบธรรมของการคงโทษประหารชีวิตได้จริงหรือ?


                  “สิ่งซึ่งโทษประหารชีวิตเป็น”: สู่ “อํานาจนิยมแห่งรัฐ”

                       หลังจากชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมของเหตุผลและประณาม “การเสแสร้งลวงหลอกด้วยคํา
                                         43
                อธิบายเรื่องความเป็นตัวอย่าง”  ของเหล่าผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิต กามูส์เรียกร้องให้สังคมฝรั่งเศสกล้า
                ออกมายอมรับความจริงว่าสิ่งซึ่งโทษประหารชีวิตเป็นนั้นหาใช่อื่นใดไม่ นอกเสียจาก “การแก้แค้น” (Camus,
                1979 [1957]: 140)



                       40  “L’homme désir vivre, mais il est vain d’espérer que ce désir règnera sur toutes ses actions. Il
                désire aussi n’être rien, il veut l’irréparable, et la mort pour elle-même. [...] Quand cet étrange désir
                grandit et règne, non seulement la perspective d’une mise à mort ne saurait arrêter le criminel, mais il est

                probable qu’elle ajoute encore au vertige où il se perd.” (Camus, 1979 [1957]: 135).
                       41  “une possibilité invérifiable” (Camus, 1979 [1957]: 136).
                       42  “[...] qu’en vertu de tous les crimes qui auraient pu l’être et ne l’ont pas été, qui pourront
                l’être et ne le seront pas.” (Camus, 1979 [1957]: 137).
                       43  “l’hypocrisie d’une justification par l’exemple” (Camus, 1979 [1957]: 139).
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158