Page 138 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 138
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 137
จากที่กล่าวมาทั้งหมด ตัวละครทั้งสองได้สร้างมาตรฐานทางสังคมใหม่ขึ้นมา โดยใช้การสวมบทบาท
และการแสดงมาเป็นเครื่องมือที่ทําให้ทั้งสองสามารถเอาชนะกรอบทางสังคมที่กําหนดลักษณะตายตัวทาง
ชาติพันธุ์ และสามารถสร้างลักษณะใหม่ที่ไหลเลื่อน โดยปฏิเสธการถูกตีกรอบผ่านมายาคติของสังคมโดย
สิ้นเชิง การหลุดพ้นจาก “พันธนาการ” ทางชาติพันธุ์เป็นวิธีการที่คนอเมริกันเชื้อสายเอเชียสามารถใช้สร้าง
ความชอบธรรมไปต่อสู้กับวัฒนธรรมหลักที่พยายามสร้างความแตกต่างทางชาติพันธุ์โดยพยายามจะชี้ให้เห็น
ว่าความแตกต่างนั้นมีอยู่จริงในสังคม แต่ความเป็นจริงแล้ว ความแตกต่างทางชาติพันธุ์นั้นเป็นเพียงมายาคติที่
ถูกสร้างขึ้นเท่านั้น ดังนั้นชื่อเรื่อง Bondage จึงเป็นทั้งสัญลักษณ์และอุปลักษณ์ของมายาคติที่รอการรื้อถอน
ทําลาย
สรุป
จากบทละครเรื่อง Bondage จะเห็นได้ว่ามาร์กและเทอร์รีแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของมายาคติที่
ไหลวนอยู่ในสังคมมีส่วนในการกําหนดลักษณะทางชาติพันธุ์ แต่เมื่ออยู่ในบริบทของการแสดง หวังสามารถ
ชี้ให้เห็นว่า ชาติพันธุ์เป็นเพียงการแสดงอย่างหนึ่งซึ่งมีความลื่นไหลในตัวเอง ไม่สามารถที่จะสร้างเป็นภาพ
ตายตัวได้ การสร้างภาพตายตัวของชาติพันธุ์ก็เหมือนกับการยอมรับการครอบงําทางอุดมการณ์ของวัฒนธรรม
หลักในสังคม เช่นเดียวกับความเชื่อเรื่องเพศสถานะและเพศวิถี การที่ตัวละครทั้งสองสามารถที่จะแสดงความ
เป็นชาติพันธุ์ต่างๆ ได้อย่างไม่จํากัดทําให้คําจัดความของคําว่าชาติพันธุ์กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสรุปได้ ใน
ฐานะชนกลุ่มน้อย หวังใช้การแสดงที่มีภาวะลื่นไหลของชาติพันธุ์ปลดปล่อยความเป็นอเมริกันเชื้อสายเอเชีย
ของตนที่ถูกจองจําโดยรื้อถอนมายาคติที่ปรากฏในนาม “โครงสร้างทางประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์” ได้อย่าง
น่าสนใจ
จากการทําความเข้าใจการรื้อสร้างชาติพันธุ์ใน Bondage ทําให้ผู้เขียนบทความหวนคิดถึงฟิลลิป เชง
ที่เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารที่บ้าน ฟิลลิปแสดงบทบาทเป็นคนผิวขาว ผ่านวัฒนธรรมการดื่มชาของคนอังกฤษ
และการรับประทานพาสต้า และดูเหมือนว่าเขาเพลิดเพลินกับบทบาทนั้น ผู้เขียนบทความคิดเลยไปไกลถึง
ขนาดที่ว่า เมื่อฟิลลิปกลับไปเยือน “เมืองแม่” เขาอาจเปลี่ยนจากการดื่มชาอังกฤษเป็นชาจีนได้อย่างไม่ขัดเขิน
และสามารถยืนยันอัตลักษณ์ตัวเองในแต่ละบริบทได้ เพราะชาติพันธุ์ใต้ “คอสตูม” ของเราทุกคนถูกรื้อถอน
และสร้างใหม่ได้อย่างไม่จํากัด
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “ความฝันแบบอเมริกันในบทละครของ
นักประพันธ์อเมริกันเชื้อสายเอเชีย” โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2553