Page 131 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 131

130      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน

                               Mark: A Chinese man? All right and who are you?

                               Terri: Me? I am—I am a blonde woman. Can you remember that?
                               Mark: I feel very vulnerable

                               Terri: You should. I pick this role for a reason, you know.
                       [Unchains him]
                               We will call you Wong. Mark Wong. And me—I am Tiffany Walker.
                               (Hwang, 2000: 131)


                       หากใช้ทฤษฎีวัจนกรรมเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า ประโยคเปิดเรื่อง ถือว่าเป็นรูปแบบ
                หนึ่งของ “illocutionary act” ซึ่งก็คือ “วัจนะ” นั้นได้ “ทํา” บางสิ่งบางอย่าง ในที่นี้ เทอร์รีเป็นผู้มีอํานาจ

                และได้บอกให้มาร์ก “เล่น” หรือ “แสดง” เป็นชายชาวจีน และบอกกับตัวเองว่า เธอจะ “แสดง” เป็นสาว
                ผมบลอนด์ การตั้งนามสกุลหว่อง (Wong)  ให้มาร์กเหมือนเป็นการตอกย้ําความเป็นจีนในการสวมบทบาท

                ของมาร์ก ในขณะที่เทอร์รีเลือกชื่อทิฟฟานี วอล์กเกอร์ (Tiffany Walker) ซึ่งแน่นอนว่าเป็นชื่อสําหรับผู้หญิง
                ผิวขาว การ “แสดง” บทบาทของทั้งสองคนในช่วงต้นตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายกุมอํานาจและ
                อีกฝ่ายหนึ่งกําลังถูกกระทําเนื่องจากอ่อนแอกว่าและรู้สึกด้อยกว่า แต่ความรู้สึกที่ด้อยกว่านี้ หาได้มาจากตัว

                ผู้ถูกกระทําไม่ แต่มาจากการใช้วัจนกรรมผลิตซ้ําชุดความคิดจนกระทั่งมาร์กรู้สึกได้ว่าการที่เขารับบทบาทเป็น
                ชาวชาวจีนทําให้เขารู้สึกอ่อนแอลงไปมาก (“I feel … very vulnerable”)  และแน่นอนว่า เหตุผลที่เทอร์รี

                เลือกบทบาทชายชาวจีนให้มาร์กแสดง เพื่อเป็นการผลิตซ้ํามายาคติที่ว่าชายชาวจีนอ่อนแอ และคําพูดของ
                เธอไม่ได้มีอิทธิพลต่อร่างกายเท่านั้นแต่ยังเข้าไปควบคุมความรู้สึกของตัวละครอีกด้วย การที่มาร์กรู้สึกอ่อนแอ

                เพราะว่าคําพูดและบทบาทที่เขาได้รับให้เล่น และเทอร์รีก็ไม่ลืมที่จะตอกย้ําความไม่เป็นชายชาตรีของมาร์ก
                ทันทีที่บทสนทนาของทั้งสองเริ่มขึ้น


                       Terri: I have seen you looking at me. From behind the windows of yours—
                       engineering laboratory. Behind your horn-rimmed glass. Why don’t you come
                       right out and try to pick me up? Whisper something offensive into my ear? Or

                       aren’t you man enough? (Hwang, 2000: 131)

                       หากมองในมุมมองของเทอร์รี การที่เธอเลือกให้มาร์กแสดงบทบาทเป็นชายชาวจีนนั้น เธอคิดว่าจะ

                ทําให้เขารู้สึกไร้ค่าและสมควรต่อการดูถูกเหยียดหยาม และการให้ตัวเองสวมบทบาทหญิงผมบลอนด์ ทําให้
                เธออยู่ในตําแหน่งที่สามารถควบคุม ออกคําสั่ง และมีอํานาจในการจัดการกับชายชาวจีนซึ่งถือว่าเป็นอัตบุคคล
                ชายขอบ (marginalized subject) ทั้งนี้ในการเหยียดหยามมาร์กนั้น เทอร์รีเลือกที่จะโจมตีความไม่เป็นชาย
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136