Page 127 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 127

126      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                ตัวละครอเมริกันเชื้อสายเอเชียให้สามารถหลุดพ้นออกมาจากวังวนการกดขี่ทางสังคมผ่าน “การแสดง” โดย
                ในบทความนี้ ผู้เขียนจะใช้คําว่า “ชาติพันธุ์” (ethnicity) แทนคํากว่า “เชื้อชาติ” (race) เพื่อให้สอดคล้องกับ

                การใช้ทฤษฎี “performativity”  เนื่องจากคําว่า เชื้อชาตินั้นมีความเกี่ยวเนื่องและผูกติดกับชีวะ/สรีระ
                ในขณะที่คําว่าชาติพันธุ์คือคุณลักษณะของเชื้อชาติใดเชื้อชาติหนึ่งและมีความลื่นไหลมากกว่า (Ashcroft,
                Griffiths and Tiffin, 2007: 75,180)


                  เดวิด เฮนรี หวัง กับการละครอเมริกันเชื้อสายเอเชีย


                       มีนักวิชาการจํานวนมากที่ศึกษาเรื่องชาติพันธุ์และปฏิสัมพันธ์
                ระหว่างคนพลัดถิ่น (diaspora) กับวัฒนธรรมหลักของสังคมอเมริกัน ใน

                ที่นี้ผู้เขียนบทความของกล่าวเฉพาะงานที่มีความสําคัญกับการศึกษาครั้งนี้
                ได้แก่ งานของคาเรน ชิมะคะวะ (Karen  Shimakawa)  เรื่อง National

                Abjection (2002)  ซึ่งศึกษากระบวนการคัดเลือกนักแสดงละครเวที โดยมี
                การกีดกันนักแสดงเชื้อสายเอเชียไม่ให้มีบทบาทมากในละครอเมริกัน

                สมัยใหม่ หรือหนังสือของแอน แอนลิน เชง (Ann  Anlin  Cheng)  เรื่อง
                The Melancholy of Race (2001) ซึ่งอธิบายความโศกเศร้าของความ

                เป็นชายขอบของคนอเมริกันเชื้อสายเอเชีย และงานของเดวิด เอง (David   เดวิด เฮนรี หวัง
                Eng) เรื่อง Racial Castration (2001) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์และเพศวิถีของชายชาวเอเชียซึ่ง
                มักจะถูกมองว่าไร้ความเป็นชายชาตรี งานเหล่านี้หากมองอย่างกว้างๆ แล้วมีจุดมุ่งหมายที่ใกล้เคียงกัน

                กล่าวคือ เป็นการชี้ให้เห็นถึงกระบวนการอันแยบยลที่สังคมกระแสหลักสร้างอุดมการณ์ (ideology)  ของ

                ความเป็นอเมริกันเชื้อสายเอเชียขึ้นมา คนอเมริกันเชื้อสายเอเชียถูกหล่อหลอมด้วยค่านิยมและอุดมการณ์ของ
                วัฒนธรรมหลักที่เข้ามาโจมตีความเป็นอัตบุคคลของพวกเขา กระบวนการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อเชิดชู
                ค่านิยม แนวคิดของวัฒนธรรมหลักหรือวัฒนธรรมความเหนือกว่าของคนผิวขาว (White  supremacy) โดย

                ตอกย้ําความเป็นชนชายขอบให้แก่คนผิวสีอย่างแยบยล

                       หากเราย้อนมองประวัติความเป็นมาของละครอเมริกันเชื้อสายเอเชียจะเห็นได้ว่า ละครอเมริกันเชื้อ
                สายเอเชียเกิดขึ้นหลังจากที่ละครอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันเฟื่องฟูมาได้สักระยะหนึ่ง นักประพันธ์บทละคร

                อเมริกันเชื้อสายแอฟริกันอย่างอลิส ชายเดรส (Alice  Childress)  อามิริ บาการา (Amiri Bakara)  หรือ
                ชาร์ลส์ กอร์ดัน (Charles  Gordone)  ได้สร้างตัวละครเอกที่เป็นคนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันและได้รับการ

                ยอมรับในฐานะละครบรอดเวย์ แต่สําหรับการละครอเมริกันเชื้อสายเอเชียนั้น มีที่มาที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง
                เพราะว่าการละครอเมริกันเชื้อสายเอเชียมีจุดกําเนิดมาจากการเรียกร้องทางสังคมของนักแสดงชาวเอเชีย

                ในช่วงสงครามเวียดนามมีความเกลียดชังคนเอเชียไม่ว่าจะมาจากประเทศใดซึ่งความเกลียดชังนี้ทําให้คนเชื้อสาย
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132