Page 128 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 128
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 127
เอเชียในสหรัฐอเมริกาต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรม เริ่มจากการเคลื่อนไหวในสถาบันการศึกษาที่มีทั้ง
คณาจารย์และนักศึกษาเชื้อสายเอเชียกําลังศึกษาอยู่เป็นจํานวนมากในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเรียกร้องให้มี
การจัดตั้งสาขาวิชาชาติพันธุ์ขึ้นในมหาวิทยาลัยที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (Kurahashi, 1999: 10)
ต่อมามีการผลักดันให้เกิดละครเวทีอเมริกันเชื้อสายเอเชีย โดยกลุ่มคนที่เข้ามามีบทบาทในการจัดตั้ง
ไม่ใช่นักประพันธ์บทละครหรือผู้กํากับแต่เป็นกลุ่มนักแสดงที่ได้รับความไม่เท่าเทียมและถูกกดขี่จาก
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันและก่อกําเนิดละครเวทีอเมริกันเชื้อสายเอเชียขึ้น นัก
ประพันธ์บทละครอเมริกันเชื้อสายเอเชียที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งก็คือ เดวิด เฮนรี หวัง เขาเริ่มผลิตงาน
ออกมาในช่วงปลายทศวรรษ 70 โดยบทละครเรื่องแรก FOB (1978) เป็นบทละครเกี่ยวกับชีวิตเด็กวัยรุ่น
อเมริกันเชื้อสายเอเชียที่ตามหาตัวตนที่แท้จริงในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย งานชิ้นแรกของหวังประสบความสําเร็จ
อย่างมาก เขาได้รับรางวัลต่างๆ มากมายจากหลายสถาบันด้วยวัยเพียง 23 ปี หลังจากนั้นหวังก็ประสบ
ความสําเร็จจากบทละครเรื่อง M. Butterfly (1988) ซึ่งเป็นบทละครที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เขาเองมากที่สุด
และได้รับรางวัล Tony Awards สาขาบทละครยอดเยี่ยมในปี 1988
ความสําเร็จของบทละครเรื่อง M. Butterfly ทําให้หวังได้รับการยอมรับในแวดวงการศึกษาไปด้วย
บทละครเรื่องนี้มีผู้นําไปเป็นตัวบทศึกษา (canon) ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นการเปิดโอกาสให้
นักวิชาการและนักวิจารณ์ได้ท้าทายการสร้างภาพเหมารวม/ภาพตายตัว (stereotype) ให้แก่ชายหญิงชาว
เอเชีย ซึ่งถูกสังคมอเมริกันกระแสหลักมองโดยรวมว่า ผู้หญิงเอเชียไม่มีภาวะกระทําการ (agency) และมี
ลักษณะยอมจํานนอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ผู้ชายชาวเอเชียมักจะถูกมองว่าไม่มีความเป็นชายชาตรี
ภาพลักษณ์เหล่านี้ถูกท้าทายและตั้งคําถามผ่านบทละครของหวังหลายเรื่อง หวังได้ใช้ความพยายามอย่างมาก
ที่จะชี้ให้เห็นว่า “การแสดง” เป็นวิธีการสําคัญในการแสดงออกให้เห็นความเป็นอัตบุคคลของคนอเมริกันเชื้อ
สายเอเชีย
เหตุการณ์สําคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนของการละครอเมริกันเชื้อสายเอเชียเกิดขึ้นในการคัดเลือกตัวแสดง
ในบทละครเรื่อง Miss Saigon (1989) เหตุการณ์นี้ได้นําไปสู่การต่อสู้ทางความคิดซึ่งโยงไปถึงการเมืองเรื่อง
วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกให้โจนาทาน ไพรซ์ (Jonathan Pryce) รับบทเป็นวิศวกรลูกครึ่ง
13
เวียดนาม-ฝรั่งเศส จนทําให้เกิดคําว่า “ใบหน้าสีเหลือง” (Yellow Face) ขึ้นสําหรับนักแสดงและผู้กํากับ
13 เหตุการณ์ของ Miss Saigon นั้นเมื่อการแสดงละครย้ายจาก ลอนดอนสู่นิวยอร์ก สมาคมนักแสดงอเมริกัน ออก
แถลงการณ์เรียกร้องให้ยกเลิกการแสดงถ้านักแสดงนําที่เล่นบทเป็นวิศวกรยังคงเป็น โจนาทาน ไพรซ์ แต่เนื่องจากได้รับความ
กดดันจากหลายฝ่ายรวมทั้งสมาชิกบางคนของสมาคมนักแสดงเอง ทําให้ทางสมาคมต้องเปลี่ยนคําแถลงการณ์และยินยอมให้
ไพรซ์ขึ้นแสดงบทวิศวกรได้โดยให้ใช้เครื่องสําอางสีโทนเหลืองในการแต่งหน้าเพื่อให้ดูเหมือนคนเอเชีย.