Page 129 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 129

128      แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                ละครเวที การที่ผู้ผลิตละครเรื่อง Miss Saigon มองไม่เห็นความไม่เหมาะสมในการนําคนผิวขาวชาวเวลส์ให้
                มาแสดงเป็นลูกครึ่งเอเชีย เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในสายตาของชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย เพราะเป็นการแสดง

                ให้เห็นการถูกกีดกันทางชาติพันธุ์ การกีดกันไม่ให้คนเอเชียรับบทบาทวิศวกรใน  Miss Saigon  นี้เป็น
                สัญลักษณ์ที่เด่นชัดอีกประการหนึ่งของการที่คนอเมริกันเชื้อสายเอเชียถูกจํากัดสิทธิและถูกแบ่งแยกให้เป็น
                พลเมืองชั้นสองของประเทศ


                  การท้าทาย “พันธนาการ” ของชาติพันธุ์ใน Bondage

                       หวังเขียนบทละครเรื่อง Bondage ขึ้นหลังจากประสบความสําเร็จจาก M. Butterfly หวังพยายาม

                สร้างให้โรงละครและการแสดงเป็นปัจจัยสําคัญที่จะทําให้คนอเมริกันเชื้อสายเอเชียรับรู้ความหมายของ
                อัตลักษณ์และความเป็นไปที่เกิดขึ้นในสังคมรอบตัว ด้วยการแสดงนี้เองทําให้คนอเมริกันเชื้อสายเอเชีย

                สามารถหลีกหนีจากการถูกสร้างภาพตายตัว (to be stereotyped) และการถูกกดขี่จากวัฒนธรรมหลักใน
                สังคมได้อย่างแยบยล ความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์กับการแสดงนั้นมีความซับซ้อน เหมือนกับที่นักวิชาการ

                สายหลังโครงสร้างนิยมได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า “Self is not a fixed entity but a fluid, changing
                construct or creation determined by context or historical condition and particularly by

                power relationships.” (Ling, 1992: 305-318)

                                                       เราอาจพิจารณาบทละครองก์เดียวเรื่อง Bondage  นี้ ว่า

                                                เป็นการต่อสู้กันระหว่างวัฒนธรรมหลักซึ่งถูกสร้างให้มีความเข้มแข็ง
                                                มีพลังอํานาจในการควบคุม  กับวัฒนธรรมกระแสรองที่ด้อยกว่ามี

                                                ลักษณะที่อ่อนแอ ถูกกระทํา และไม่มีความเป็นชายชาตรี ทําให้
                                                วัฒนธรรมกระแสรองนั้นต้องการการปกป้องเนื่องจากไม่สามารถที่

                                                จะดูแลตัวเองได้ หากจะมองผ่านมุมมองแบบหลังอาณานิคมก็อาจ
                                                กล่าวได้ว่า นี้คือการต่อสู้กันระหว่างความเป็นชายที่เป็นตัวแทนของ
                                                วัฒนธรรมหลักที่ต้องการเข้ามาจัดการดูแลและปกป้องดินแดนที่

                                                อ่อนแอที่มีความเป็นหญิง และวัฒนธรรมหลักเกิดขึ้นและดํารงอยู่ก็
                                                เนื่องจากการผลิตซ้ํา และการผลิตซ้ําของวาทกรรมกระแสหลักทํา


                    ฉากหนึ่งจากการแสดงละครเรื่อง   ให้วาทกรรมนี้กลายเป็นชุดความจริงที่วัฒนธรรมกระแสหลักใช้ใน
                           Bondage              การควบคุม และกดขี่วัฒนธรรมกระแสรอง

                       เรื่อง  Bondage  มีตัวละครเพียงสองตัว เรื่องเกิดขึ้นในสถานบริการของพวกซาดิสต์และมาโซคิสต์
                (Sadomasochistic bar) หรือสถานเริงรมย์ของผู้นิยมการกระทําและการถูกกระทําด้วยความรุนแรง ใน
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134