Page 126 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 126
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 125
“The act that one does, the act that one performs, is, in a sense, an act
that has been going on before one arrived on the scene. Hence, gender is an act
which has been rehearsed, much as a script survives the particular actors who
make use of it, but which requires individual actors in order to be actualized and
reproduced as reality once again” (Butler,1990: 272)
สําหรับบัทเลอร์ เหตุที่การครอบงําทางอุดมการณ์ (hegemony) และมาตรฐานแบบรักต่างเพศ
(heteronormative) ยังคงมีอํานาจในการควบคุมความคิดของคนในสังคมได้นั้น เนื่องมาจากการที่คนใน
สังคมได้ “แสดง” บทบาทที่ซ้ําไปซ้ํามาของ “gender act” ในชีวิตประจําวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การพูด
การแต่งกาย สําหรับบัทเลอร์แล้ว ความแตกต่างระหว่างความเป็นส่วนตัวกับวิถีแห่งสังคมเป็นเพียงเรื่องที่แต่ง
ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนกฎระเบียบแบบแผนที่มีอยู่ในสังคมเท่านั้น การที่บัทเลอร์ตั้งคําถามเกี่ยวกับการแสดงออก
ทางเพศสถานะนี้ขึ้นมาก็เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสําคัญในการต่อสู้ของตัวตนที่ถูกกดทับโดยถูกทําให้แปลกแยก
จากคนส่วนใหญ่ในสังคม บัทเลอร์จึงเสนอว่า กฎ ระเบียบแบบแผน ความเชื่อต่างๆ ที่มีอยู่เป็นเพียง “การ
แสดง” ที่ซ้ําไปซ้ํามา ถูกผลิตซ้ําจนเป็นที่ยอมรับ หาได้มีความจําเป็นที่จะต้องเป็นเช่นนั้นตลอดไป การท้าทาย
จึงอาจเกิดขึ้นได้เสมอ
แนวคิดของบัทเลอร์ทรงอิทธิพลอย่างมาก โดยในเฉพาะการศึกษาด้านเพศสถานะและเพศวิถี
นักวิชาการบางคนใช้ทฤษฎีของบัทเลอร์อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเพศสถานะและเพศวิถีในบทละคร
เรื่อง Twelfth Night ของเชกสเปียร์ ในบทละครนี้มีตัวละครชื่อไวโอลา (Viola) ซึ่งปลอมเป็นชายแล้วใช้ชื่อ
เซซาริโอ (Cesareo) และได้ทําหน้าที่เป็นพ่อสื่อให้เจ้านายของตนคือดยุกออร์ซิโน (Duke Orsino) กับโอลิเวีย
(Olivia) แต่เหตุการณ์ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อโอลิเวียไปหลงรักเซซาริโอซึ่งก็คือไวโอลาที่ปลอมตัวเป็นชาย
ความรักระหว่างตัวละครทั้งสองตัวนี้ถูกนํามาตีความทั้งในฐานะตัวละครที่มีความปรารถนาต่อเพศเดียวกัน
(homoerotic characters) และตัวละครที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้ชายในเรื่อง (homosocial characters)
(Charles, 1997: 121-141) นอกจากนั้น นักวิชาการบางคนได้นําแนวคิดเรื่อง “performativity” มาใช้ใน
การอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ชนชั้น และสีผิวด้วย นอกเหนือจากการอธิบายเรื่องเพศสถานะ กล่าว
เฉพาะบริบทของเชกสเปียร์ศึกษา เช่น การนําทฤษฎีของบัทเลอร์มาอธิบายความมีตัวตนของโอเทลโล
(Othello) ซึ่งเป็นตัวละครผิวดําว่าแท้จริงแล้วความเป็นคนผิวดําของโอเทลโลก็เป็นสิ่งที่เกิดมาจาก “การ
แสดง” เช่นกัน (Chakaravati, 2003: 39-55)
ในบทความนี้ผู้เขียนบทความต้องการนําทฤษฎีของบัทเลอร์มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเรื่องชาติพันธุ์
ในบทละครของนักประพันธ์อเมริกันเชื้อสายเอเชีย โดยมีบทละครองก์เดียวเรื่อง Bondage (1990) ของ
เดวิด เฮนรี หวัง (David Herny Hwang) เป็นกรณีศึกษา เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ประพันธ์สร้าง