Page 125 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 125
124 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ในทฤษฎีเรื่องวัจนกรรมนั้น ออสตินได้บัญญัติศัพท์ “performative utterance” ขึ้นโดยเชื่อว่า
“วัจนะ” หรือถ้อยคําภาษาเป็น “illocutionary act” ซึ่งหมายความว่า “วัจนะ” นั้นๆ ได้ “ทํา” บางสิ่ง
บางอย่างมากกว่า “แสดง” ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดสําหรับ “illocutionary act” คือคําพูดที่บาทหลวงใช้
ประกอบพิธีในงานแต่งงาน “ฉันขอประกาศให้คุณทั้งสองเป็นสามีและภรรยานับตั้งแต่บัดนี้” จากประโยค
ดังกล่าวจะเห็นว่า ผู้มีอํานาจได้ใช้ภาษาเปลี่ยนแปลงสถานภาพของสองบุคคลที่อยู่ในบริบทดังกล่าวคือ
เจ้าบ่าวและเจ้าสาว คํากล่าวของบาทหลวงได้เปลี่ยนการดํารงอยู่ของทั้งสองโดยการสถาปนาความจริงชุดใหม่
ขึ้น คือสถานภาพการสมรสอย่างเป็นทางการ และนี่คือการ “กระทํา” ของคําพูดซึ่งบัทเลอร์ได้อธิบายไว้ว่า
“Within speech act theory, a performative is that discursive practice that enacts or produces
that which it names” (Butler, 1993: 13)
อย่างไรก็ตาม การที่วัจนกรรมจะเกิดประสิทธิภาพได้ดังต้องการนั้นจะต้องผ่านกระบวนการอ้างอิง
กับระเบียบแบบแผนซึ่งถูกอ้างถึงและผลิตซ้ําอยู่ตลอดเวลา บัทเลอร์ได้นําแนวคิดนี้ไปต่อยอดโดยศึกษาถึง
อิทธิพลของโครงสร้างทางภาษาศาสตร์ดังกล่าวในการสร้างชุดความจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วไปผ่านทางวัจนกรรม
ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน บัทเลอร์กล่าวว่า การที่เราแสดงออกผ่านวัจนกรรมหมายความว่าเรากําลังให้ความ
ร่วมมือสร้างชุดความจริงนั้นๆ ด้วยการแสดงออกทางสรีระของเรา แต่อย่างไรก็ตามชุดความจริงนั้นก็ยังถือว่า
เป็นโครงสร้างทางสังคม และการแสดงออกของเรานี้เองที่ทําให้ชุดความจริงนั้นๆ กลายเป็นธรรมชาติ เป็น
สิ่งจําเป็น และชอบธรรม ยิ่งไปกว่านั้น การที่เราแสดงออกอย่างต่อเนื่องตามชุดความคิดแต่ละชุดนั้นทําให้ชุด
ความคิดนั้นกลายเป็นความจริงขึ้นมาโดยที่ไม่รู้ตัว โดยบัทเลอร์ได้ให้ความสําคัญแก่สิ่งที่เรียกว่า “gender
act” เพราะว่า การแสดงออกทางเพศสถานะนั้นมีความสําคัญมากต่อการดํารงอยู่ของปัจเจกบุคล การผลิตซ้ํา
ทางเพศสถานะจะนําไปสู่การกําเนิดของความเป็นอัตบุคคล (subjectivity) เราอาจจะเชื่อว่าความเป็นอัตบุคคล
เป็นแหล่งกําเนิดของการกระทําของมนุษย์ แต่บัทเลอร์เสนอว่า ความเป็นอัตบุคคลของมนุษย์นั้น เป็น
โครงสร้างที่สร้างขึ้นในอดีตซึ่งเกิดขึ้นผ่านการกระทําตามโครงสร้างทางสังคม ดังที่บัทเลอร์ได้กล่าวไว้ว่า
“Gender cannot be understood as a role which either expresses or
disguises an interior ‘self,’ whether that ‘self’ is conceived as sexed or not. As
performance which is performative, gender is an ‘act,’ broadly construed, which
constructs the social fiction of its own psychological interiority” (Butler, 1990a:
279)
ดังนั้นสําหรับบัทเลอร์แล้ว เพศสถานะถือว่าเป็นการ “แสดง” ออกทางร่างกายโดยไม่ได้บ่งชี้ถึงความ
เป็นจริงของสรีระหรือร่างกาย การประกอบสร้างเพศสถานะจึงมีความเป็นมาที่ซับซ้อนก่อนที่การ “แสดง”
จะเกิดขึ้นเสียอีก