Page 124 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 124

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   123


                       บทนํา

                            เมื่อครั้งผู้เขียนบทความศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศ มีเพื่อนชาวไทยชวนไปรับประทานอาหารที่บ้านซึ่ง

                     เช่าอยู่กับเพื่อนชาวต่างชาติชื่อ ฟิลลิป (Phillip) ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อสมองก็สั่งการทันทีว่า ฟิลลิปน่าจะเป็นคน
                     “Caucasian” หรือคนผิวขาว แต่เมื่อไปถึงที่บ้าน ฟิลลิปกลับกลายเป็นชายชาวจีนอายุประมาณ 25  และ

                     แนะนําตัวเองว่าชื่อฟิลลิป เชง (Phillip Cheng) ปฎิกิริยาแรกที่เกิดขึ้นคือ ผู้เขียนบทความนึกขันตัวเองที่เชื่อ
                     อยู่ตลอดเวลาว่า คนที่ชื่อฟิลลิปจะต้องเป็นคนผิวขาวร้อยเปอร์เซ็นต์


                            เมื่อสนิทกันมากขึ้น จึงสอบถามว่าที่ประเทศจีนเขาใช้ชื่อฟิลลิปหรือไม่ คําตอบคือเขามีเพียงชื่อ
                     ภาษาจีน แต่เมื่อมาศึกษาในต่างประเทศ มีอาจารย์แนะนําว่าควรจะมีชื่อที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษด้วย และชื่อ

                     ฟิลลิปก็มาจากป้ายโฆษณาหลอดไฟตรา “Phillip” ที่ติดอยู่ตรงทางออกสนามบินฮีทโทรว์ในกรุงลอนดอนใน
                     วันที่เขาเดินทางมาถึงอังกฤษในวันแรกฟิลลิปมีความสุขกับชื่อใหม่ ถึงขนาดที่โทรศัพท์ไปเล่าให้เพื่อนที่

                     ประเทศจีนฟังว่า ต่อไปนี้ให้เรียกชื่อเขาว่า ฟิลลิปประสบการณ์ครั้งนี้ทําให้ผู้เขียนบทความได้ตระหนักถึง
                     มุมมองอันแคบของตนเอง ทัศนคติรวมทั้งโลกทัศน์ที่ถูกตีกรอบไว้ด้วยความเชื่อและมายาคติที่สั่งสมมา หาก

                     จะมองในมุมมองทางทฤษฎีผู้เขียนบทความยังเป็นบุคคลที่อยู่ในบริบทของโครงสร้างนิยม ในขณะที่โลกได้
                     เปลี่ยนไปเป็นหลังโครงสร้างนิยมเมื่อหลายทศวรรษก่อน ความเชื่อเรื่อง “sign = signified + signifier …+

                     signifiers” และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทําให้ผู้เขียนตระหนักถึงความสําคัญของทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมมาก
                     ยิ่งขึ้นหลังจากที่ไม่ค่อยได้สนใจเท่าไรในช่วงแรก


                       การประยุกต์แนวคิดของจูดิธ บัทเลอร์: จากเพศสถานะสู่ชาติพันธุ์

                            จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนบทความเมื่อได้ศึกษาวรรณกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ พบว่ามี
                     การนําทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยมมาใช้กันอย่างแพร่หลาย บทความวิชาการในช่วง 20 ปีหลังมีการใช้ทฤษฎี

                     ดังกล่าวเข้ามาวิเคราะห์และวิจารณ์งานนิพนธ์ของวิลเลียม เชกสเปียร์ (William  Shakespeare) กันอย่าง
                     กว้างขวาง และหนึ่งในนั้นก็คืองานของจูดิธ บัทเลอร์ (Judith Butler) เรื่อง Gender Trouble (1990) ซึ่งเป็น

                     หนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะถือว่าเป็นงานที่เปลี่ยนโลกทัศน์และวิธีวิทยาของสตรีศึกษา
                     รวมทั้งการศึกษาด้านเพศสถานะและเพศวิถี  ในหนังสือเล่มนี้บัทเลอร์พัฒนาแนวคิดมาจากนักคิดนักเขียนก่อน

                     หน้า ไม่ว่าจะเป็นจูเลีย คริสเตวา (Julia  Kristeva)  อีฟ เซดจ์วิก (Eve  Sedgwick)  มิแชล ฟูโกต์ (Michel
                     Foucault) และ ฌาร์ก แดร์ริดา (Jacque Derrida) โดยใช้ทฤษฎีเรื่อง “วัจนกรรม” (speech act) ของ จอห์น
                     แอล. ออสติน (John L. Austin) เป็นต้นแบบ
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129