Page 36 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 36
สวนที่ 1 เพศภาวะ: ขึ้นคาน 19
“ขึ้นคาน” ในเชิงตําหนิวาจะตองเปนผูหญิงที่มีคุณสมบัติอะไรสักอยางที่ผิดแผก
แตกตางไปจากผูหญิงสวนใหญ ถึงไดไมมีผูชายมาขอ
แมทุกวันนี้ผูหญิงไทยอาจไมจําเปนตองพึ่งพาผูชายทางเศรษฐกิจมาก
เทากับเมื่อกอน ขณะที่สังคมไทยก็เปลี่ยนแปลงไปอยางมากทั้งทางดาน
เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนสถานภาพทางสังคม และโอกาสในการไดรับการ
ศึกษาของผูหญิง ทําใหผูหญิงไทยมีแนวโนมที่จะครองตัวเปนโสดเพิ่มมากขึ้น
เรื่อยๆ (ยืนยันไดจากสถิติในชวงระหวางป พ.ศ. 2503–2543 ที่มีการสํารวจ
กลุมผูหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
9
มหาวิทยาลัยมหิดล) ทามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหลานี้ ทัศนคติ
และคานิยมทางสังคมในเรื่องของการมีคู หรือการแตงงานก็เปลี่ยนแปลงไป
ดวยเชนเดียวกัน โดยคนสมัยใหมใหคุณคากับเรื่องของการแตงงานดวยความรัก
มากกวาแตงงานดวยเหตุผลความจําเปนทางเศรษฐกิจ และยอมรับแตเฉพาะ
รูปแบบความสัมพันธระบบผัวเดียวเมียเดียวเทานั้น อยางไรก็ตามผูหญิง
แทบจะทุกคนก็ยังคงตองเผชิญกับความกดดันเรื่องแตงงานอยูตอไป เนื่องจาก
สังคมไทยยังคงเปนสังคมที่ใหคุณคากับอุดมการณเรื่องครอบครัวในรูปแบบ
ของความสัมพันธรักตางเพศภายใตระบอบวิธีคิดแบบผูชายเปนใหญ ทําให
ผูหญิงไทยไปไมพนจากกรอบความคาดหวัง เรื่องการแตงงานมีครอบครัว จะได
มีผูคอยปกปองคุมครองดูแล และมีบุตรไวสืบสกุลตอไป หรือเพื่อจะไดทําหนาที่
“เมีย” และ “แม” ที่ดีสมกับความเปนกุลสตรีตามที่สังคม และครอบครัวคาดหวัง
ตัวอยางเชน กระทูอยากบนเรื่องแตงงาน ในเว็บไซตพันทิปดอทคอม ซึ่งมีผูมา
แสดงความคิดเห็นวา
“วันนี้เราไปงานแตงงานของญาติมา แตงกันอีกแลว
และเรารูสึกอึดอัด เพราะมักจะมีคําถามวาแลวเมื่อไหรเราจะ
แตง ใหหาเจาบาวใหมั๊ย หรืออะไรประมาณนี้ ทุกงานเลย
9 <http://www.ipsr.mahidol.ac.th/content/Home/ConferenceIII/Articles/Article07.htm> ขอมูลจาก
อภิชาติ จํารัสฤทธิรงค และอรทัย หรูเจริญพรพานิช. “เซ็กซแอนเดอะซิตี้”. ใน ประชากรและสังคม 2550.
วรชัย ทองไทย และสุรียพร พันพึ่ง. บรรณาธิการ. นครปฐม: สํานักพิมพประชากรและสังคม. 2550.
สุไลพร ชลวิไล