Page 195 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 195
178 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
“สาวประเภทสอง” ออกมาเปนอีกกลุมหนึ่ง เนื่องจากแตละกลุมเผชิญปญหา
จากการเลือกปฏิบัติที่แตกตางกัน ขอเรียกรองเรื่องสิทธิที่ตองการก็แตกตางกัน
ไปในรายละเอียด แตถาหากเปนการเคลื่อนไหวในบริบทที่เกี่ยวของกับเรื่อง
“สุขภาพทางเพศ” แลว ทั้ง “ชายรักชาย” และ “สาวประเภทสอง” ก็จะถูกจัดรวม
ใหอยูในกลุม “เอ็มเอสเอ็ม” หรือกลุมผูที่ตองเผชิญปญหาสุขภาพทางเพศ
อันเนื่องมาจากการมีเพศสัมพันธกับเพศเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากผูที่ผูกขาด
อํานาจในการใหบริการดานสุขภาพมีมุมมองตอทั้งสองกลุมแบบเหมารวมกัน
ไปหมด หรืออยางมากก็จะแยกแคกลุมผูที่แปลงเพศ และผูที่ไมไดแปลงเพศ
โดยไมไดคํานึงถึงแงมุมในความเปนตัวตนทางเพศภาวะ และเพศวิถีที่แตกตางกัน
ระหวาง “ชายรักชาย” และ “สาวประเภทสอง” ทั้งที่แงมุมเหลานี้มีสวนสําคัญ
อยางยิ่งตอการทําความเขาใจในเรื่องปญหาสุขภาพทางเพศของบุคคลกลุมตางๆ
จากพฤติกรรมสูคํานิยามตนเอง
ในแงของคํานิยามตัวตน “ชายรักชาย” เปนคําที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม เชนเดียว
กับคําวา เกย ทอม ดี้ หรือ หญิงรักหญิง ฯลฯ แตถาเปนในเรื่องของเพศสัมพันธ
สังคมไทยไดรับรูเรื่องราวการมีเพศสัมพันธระหวางผูชายกับผูชายดวยกัน
มานานแลว โดยในสมัยโบราณมีคําเรียกพฤติกรรมเชนนี้วา “เลนสวาท” และมี
ชนชั้นสูงในราชสํานัก ตลอดจนพระสงฆหลายองคในสมัยรัตนโกสินทรตอนตน
มีพฤติกรรมเชนนี้ แตก็ไมเคยปรากฏวามีผูใดถูกตัดสินประหารชีวิตดวยการมี
พฤติกรรม “เลนสวาท” แมพฤติกรรมนี้จะถูกมองวาเปนสิ่งที่ไมเหมาะสม หรือ
แปลกประหลาดก็ตาม
นอกจากคําวา “เลนสวาท” ที่พูดถึงเรื่องเพศสัมพันธ และคําวา “กะเทย” ที่
เปนคําเรียกตัวตนทางเพศที่เกาแก ยังมีอีกหลายคําที่ใชเรียกผูชายที่มีเพศสัมพันธ
กับผูชายดวยกัน สวนใหญแลวจะเปนคําที่บุคคลอื่นพูดถึง “ชายรักชาย” หรือ
“พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธระหวางผูชายกับผูชาย” และเปนคําที่คอนขาง
จะมีความหมายไปในเชิงลอเลียน หรือเชิงดูถูกเหยียดหยามทั้งสิ้น ไดแกคําวา
ลักเพศ, ชายรักรวมเพศ, อัดถั่วดํา, ตุย, ผูชายนะยะ, ไมปาเดียวกัน,
สุไลพร ชลวิไล