Page 192 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 192
บทที่ 4 เพศวิถี: ชายรักชาย 175
ชายรักชาย
สุไลพร ชลวิไล
สิทธิที่จะรัก สิทธิที่จะมีตัวตน
ในทํานองเดียวกันกับคําวา “หญิงรักหญิง” “ชายรักชาย” เปนคําที่ถูก
สรางขึ้นใหม ดวยการนําเอาคําในภาษาไทยที่เขาใจความหมายกันดีอยูแลวมา
เรียงตอกัน หมายถึง “ผูชายที่ชอบ หรือรักผูชาย และมีเพศสัมพันธกับผูชาย
ดวยกัน”
คําๆ นี้เปนคําที่เกิดขึ้นพรอมๆ กับคําวา “หญิงรักหญิง” และถูกใชควบคู
กันมาโดยตลอด 20 ปที่ผานมาในการทํางานขององคกรพัฒนาเอกชนที่รณรงค
ในประเด็นเรื่องสิทธิของบุคคลรักเพศเดียวกัน กลุมที่ริเริ่มใชคําๆ นี้ก็คือกลุม
1
อัญจารี กลุมผูหญิงรักเพศเดียวกันที่ออกมาเคลื่อนไหวทางสังคมในประเด็น
เรื่องสิทธิของผูหญิงรักเพศเดียวกันเปนกลุมแรก โดยการใชคําวา “ชายรักชาย”
ของกลุมอัญจารีมีนัยเชนเดียวกันกับการใชคําวา “หญิงรักหญิง” คือเนนไปที่
ตัวตนทางดานอารมณ ความรัก ความรูสึก หรือรสนิยมทางเพศ มากกวาจะเนน
ไปที่พฤติกรรมทางเพศ หรือการมีเพศสัมพันธระหวางผูชายกับผูชาย
ในอดีตที่ผานมามุมมองและวิธีคิดในเรื่องเพศของสังคมไทย ไมไดแยก
เรื่องเพศภาวะ (ความเปนชาย ความเปนหญิง หรือความเปนกะเทย) ออกจาก
เรื่องเพศวิถี (วิถีทางเพศแบบชอบเพศตรงขาม ชอบเพศเดียวกัน หรือชอบทั้ง
สองเพศ) อยางเด็ดขาด นอกจากคําวา “กะเทย” ที่เปนคําเรียกแบบเหมารวม
ของผูหญิง และผูชายที่มีบุคลิกภาพ และมีพฤติกรรมการแสดงออกตรงขาม
กับเพศของตนเองแลว การเกิดขึ้นของคําที่บงบอกความเปนตัวตนทางเพศ
1 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุมอัญจารีใน “หญิงรักหญิง”.
สุไลพร ชลวิไล