Page 194 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 194
บทที่ 4 เพศวิถี: ชายรักชาย 177
แมวาบอยครั้งที่ “ชายรักชาย” จะยังคงถูกนํามาใชในความหมายที่รวม
เอาบุคคลที่มีตัวตนทางเพศวิถีแบบ “เกย” และมีตัวตนทางเพศภาวะแบบ
“กะเทย” เขาไวดวยกัน เนื่องมาจากความไมคุนเคยในการแยกตัวตนทาง
เพศภาวะ กับเพศวิถีออกจากกันของสังคมไทย และอิทธิพลแนวคิดในเชิง
ระบาดวิทยาเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของกลุม “เอ็มเอสเอ็ม” แตในระยะ
หลังๆ ก็เปนที่เขาใจกันมากขึ้นวา “ชายรักชาย” หมายถึง “ผูชายที่มีตัวตน
ทางเพศวิถีแบบชายรักเพศเดียวกันที่ไมไดตองการจะแตงตัว แสดง
อากัปกิริยาเปนเพศตรงขาม หรือตองการจะแปลงเพศ”
กลาวไดวาสําหรับในกลุมผูชายที่รักเพศเดียวกันเอง คําวา “ชายรักชาย”
เปนคําที่จะใชเมื่อตองการสื่อสารกับสาธารณะในการรณรงคดานสิทธิของ
ความมีตัวตน และความเทาเทียม และคอนขางใหความรูสึกที่เปนทางการ หรือ
เปนวิชาการ มากกวาคําวา “เกย” ซึ่งเปนคําที่เปนที่รูจักคุนเคย และนิยมใชทั่วไป
ทั้งภายในกลุมผูชายรักเพศเดียวกันเองและคนทั่วไป ขณะที่คําวา “เอ็มเอสเอ็ม”
มักถูกใชในแวดวงของการรณรงคดานสุขภาพทางเพศ และเอชไอวี/เอดส
ซึ่งมีความหมายรวมถึง ผูชายทุกเพศภาวะ และเพศวิถีที่มีเพศสัมพันธกับชาย
ดวยกัน และเปนคําซึ่งสะทอนถึงการจัดกลุมบุคคลโดยวิชาการดานสาธารณสุข
ตามพฤติกรรมเสี่ยงตอโรคติดตอทางเพศสัมพันธมากกวา
ชายรักชายบางคนซึ่งมีภูมิหลังมาจากสถานะทางสังคมที่คอนขางต่ํา ให
เหตุผลวาเขาเองเลือกนิยามความเปนตัวตนดวยคําวา “ชายรักชาย” แทนคําวา
“เกย” โดยที่ไมไดสนใจวาคําๆ นี้มีที่มาจากไหน หรือมีนัยทางการเมืองอยางไร
แตที่ใชเพราะรูสึกวาดีกับคําวา “ชายรักชาย” ในแงที่เปนคําที่ฟงดูทันสมัย ไมทํา
ใหรูสึกถึงการเปนคนที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ และเปนคําที่แสดงถึงความ
เปนชนชั้นกลาง เพราะสวนใหญมีแตคนชนชั้นกลางที่ใชคําๆ นี้กัน
อยางไรก็ตามทั้งคําวา “เอ็มเอสเอ็ม” และ “ชายรักชาย” ลวนแตเปนคํา
ที่ยังไมแพรหลายในสังคมทั่วไปเทาไรนัก และสําหรับกลุมนักกิจกรรมชายรักชาย
เอง บางครั้งก็จะใชคําวา “ชายรักชาย” และ “เอ็มเอสเอ็ม” สลับสับเปลี่ยนกัน
ไปมาตลอดขึ้นอยูกับวัตถุประสงค และบริบทในการเคลื่อนไหวขององคกรนั้นๆ
โดยถาเปนบริบทที่เกี่ยวของกับการรณรงคเรื่องสิทธิ และความเทาเทียม
ทางสังคม ก็จะใชคําวา “ชายรักชาย” แทนคําวา “เกย” มากกวา และแยกกลุม
สุไลพร ชลวิไล