Page 197 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 197
180 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
ของทั้งสองคนคือ “ถั่วดํา” และ “ตุย” ก็ไดกลายมาเปนศัพทแสลงสําหรับเรียก
3
คนที่มีพฤติกรรมแบบเดียวกันไปดวย สะทอนใหเห็นถึงอิทธิพลของสื่อมวลชน
ที่มีสวนในการสรางคําใหมๆ จนกลายมาเปนคําที่ไดรับความนิยมกันทั่วไป
การเกิดขึ้นของคําวา “เกย” ในภาษาไทยก็เปนอีกกรณีหนึ่งซึ่งสะทอน
ถึงอิทธิพลของสื่อมวลชนในการสรางและกําหนดความหมายของคําดวยเชนกัน
สังคมไทยรูจักกับคําวา “เกย” เปนครั้งแรกในป พ.ศ. 2508 จากขาวการ
ฆาตกรรมนายดาเรลล เบอรริแกน บรรณาธิการหนังสือพิมพบางกอกเวิรลด
เนื่องจากผูตายเปนผูที่มีชื่อเสียงในสังคมชั้นสูงของไทย ทําใหหนังสือพิมพ
ใหความสนใจเปนอยางมาก และไดขุดคุยเรื่องราวสวนตัวของผูตายจนไดพบวา
ผูตายเปนผูที่มีพฤติกรรมชอบมีเพศสัมพันธกับกะเทย และเด็กหนุม ทําใหตํารวจ
พุงความสนใจไปที่กลุมคน กลุมนี้มากเปนพิเศษ
ในยุคนั้น “เกย” ถือเปนคําใหมที่มาพรอมกับการเผยใหเห็นถึงเพศวิถี
แบบใหมกรณีที่ผูชายมีเพศสัมพันธกับผูชาย โดยไมไดมีฝายใดฝายหนึ่งแตงตัว
เปนผูหญิง หรือเปนกะเทย คําวา “เกย” ถูกนํามาใชในความหมายที่หมายถึง
ผูชายที่ขายบริการใหกับชาวตางชาติ เกยและกะเทยถูกมองวาเปนอันตรายกับ
สังคมเมื่อมารวมเขากับการรับเอาแนวคิดเรื่องรักเพศเดียวกัน เปนความผิดปกติ
ทางจิต หรือเปนความเบี่ยงเบนทางเพศอยางหนึ่งจากอิทธิพลของการรับเอา
แนวคิดจิตวิทยามาจากตะวันตก ทําใหคําวา “เกย” เปนคําคอนขางมีนัยไปใน
เชิงลบอยางมาก
นอกจากนี้ภาพพจนในดานลบของ “เกย” ซึ่งถูกนํามาใชรวมกันกับคําวา
“รักรวมเพศ” ที่เปนศัพทวิชาการทางดานจิตวิทยา ยังถูกตอกย้ําอีกครั้ง เมื่อ
สังคมไทยพบผูติดเชื้อเอชไอวี/เอดสครั้งแรก เปนผูชายที่มีเพศสัมพันธกับผูชาย
ในป พ.ศ. 2527 ทําให “เกย” หรือบุคคลที่เปน “รักรวมเพศชาย” ถูกมองเปน
กลุมเสี่ยงซึ่งเปนตัวการในการแพรเชื้อเอดส เพราะมีพฤติกรรมเปลี่ยนคูนอน
ไมซ้ําหนา รวมทั้งเปนกลุมที่มีพฤติกรรมซื้อ และขายบริการทางเพศอยูเปน
ประจํา ทําใหสังคมเพิ่มความรังเกียจตอผูที่เปนเกยมากยิ่งขึ้น
3 คําวา “ตุย” มีผูอางถึงที่มาไวหลายที่มา อยางไรก็ตามสิ่งที่เหมือนกันอยางหนึ่งในแตละที่มาก็คือ
คําวา ตุย เปนคําที่มาจากชื่อเลนของบุคคลในขาวที่เกี่ยวของกับพฤติกรรมลวงละเมิดทางเพศ
ผูชายดวยกัน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมไดในบทที่พูดถึงคําวา “ตุย”.
สุไลพร ชลวิไล