Page 190 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 190

บทที่ 4 เพศวิถี: หญิงรักหญิง  173

                               ผูหญิงที่รักผูหญิง ขณะเดียวกันการใหคุณคาเฉพาะแตกับเรื่อง “ความรัก”
                               เปนหลัก ก็ทําใหละเลยแงมุมความเปนตัวตนทางดานเพศวิถี ที่เปนแงมุมที่
                               สําคัญมากๆ ในการทําความเขาใจและยอมรับในความเปนตัวตนของหญิงรักหญิง

                                     และถึงที่สุดแลวแมการนําเสนอคําวา “หญิงรักหญิง” จะเปนความ
                               พยายามทาทาย หรือตั้งคําถามกับกรอบวิธีคิดเรื่องการแบงบทบาทความ

                               สัมพันธ (เปนทอม หรือเปนดี้) และบทบาททางเพศ (เปนฝายรุก หรือเปนฝาย
                               รับ) ออกเปนคูตรงขามมากเพียงใด แตก็ปฏิเสธไมไดวาหญิงรักหญิงจํานวน
                               มากก็ยังคงยึดถือในกรอบความสัมพันธแบบคูตรงขามนี้อยูดี ซึ่งก็อาจตีความ
                               ไดวาจริงๆ แลวคูความสัมพันธระหวางคนรักเพศเดียวกัน ก็ไมไดแตกตางจากคู

                               ความสัมพันธระหวางชาย-หญิงรักตางเพศแตอยางใด เนื่องจากแตละคูความ
                               สัมพันธตางก็รับเอาความคิดความเชื่อในเรื่องบทบาทชายหญิงมาใชในการมี
                               ปฏิสัมพันธระหวางกัน และตางก็ไดรับผลกระทบจากการแบงบทบาทตรงนี้ออก

                               เปนขั้วตรงขามดวยกันทั้งคู
                                     อยางไรก็ตามไมวาจะมีคําเรียกหญิงรักหญิงแบบไหน หรือหญิงรักหญิง
                               จะเรียกตัวเองวาอยางไร สังคมไทยก็ยังคงไมตระหนักถึงความมีตัวตนอยูของ
                               ผูหญิงที่รักเพศเดียวกันอยูดี หรือไมก็พรอมจะมองวาการเปนหญิงรักหญิงเปนแค

                               พฤติกรรมเลนๆ ไมจริงจัง หรือเปนเรื่องของพฤติกรรมเลียนแบบชั่วคราว ซึ่งมุมมอง
                               เชนนี้สงผลกระทบตอสุขภาพของผูที่เปนหญิงรักหญิงในหลายดาน ไมวาจะเปน
                               ในแงของสุขภาพจิต เรื่องความเครียดอันเกิดจากการไมไดรับการยอมรับ การถูก

                               กีดกัน การถูกมองวาผิดปกติ หรือในแงของการตัดสินใจที่จะเขารับ หรือไมเขารับ
                               บริการดานสุขภาพทางเพศ เนื่องจากความอายในความที่ตนเองมีเพศวิถีที่
                               แตกตางไปจากคนในสังคมสวนใหญ และถึงแมวาหญิงรักหญิงจะตัดสินใจไป

                               เขารับบริการในกรณีที่เกิดปญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศก็ตาม ก็ยังเปนเรื่องยาก
                               สําหรับพวกเธอที่จะเลาถึงปญหาสุขภาพทางเพศ ซึ่งเชื่อมโยงกับรูปแบบหรือ
                               พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธระหวางผูหญิงกับผูหญิงใหกับแพทยหรือเจาหนาที่

                               ผูใหบริการดานสุขภาพฟงไดอยางตรงไปตรงมา เพราะกลัววาจะถูกมองวาเปน
                               ผูมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศตามที่สังคมสวนใหญเขาใจผิด ดวยเหตุนี้แทนที่
                               ปญหาสุขภาพทางเพศของผูหญิงรักเพศเดียวกันจะไดรับการแกไข กลับยิ่งทําให
                               พวกเธอตองเผชิญกับความเครียด และความกดดันมากยิ่งขึ้นไปอีก



                                                        สุไลพร  ชลวิไล
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195