Page 183 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 183
166 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
คํา 2 คํามารวมกัน คือ คําวา “อัญญ” ซึ่งแปลวาแตกตาง และคําวา “จารี” ที่
แปลงมาจากคําวา “จารีต“ เมื่อมารวมกันเปนอัญจารี จึงหมายถึง “แนวทางที่
แตกตาง”
สมาชิกผูรวมกอตั้งกลุมอัญจารีคนหนึ่งเลาถึงความเปนมาของคําวา
“หญิงรักหญิง“ ซึ่งเปนคําที่กลุมอัญจารีนํามาใชในการรณรงควา เกิดจาก
ความพยายามในการคิดหาคํานิยามความเปนตนเอง หรือความเปนผูหญิง
ที่รักเพศเดียวกันที่ฟงดูเปนกลางๆ ไมแฝงนัยไปในเชิงที่กอใหเกิดอคติทางเพศ และ
เนนวาควรเปนคําในภาษาไทย เพราะจะไดไมรูสึกวาการที่ผูหญิงรักเพศเดียวกัน
เปนเรื่องการเลียนแบบหรือรับเอาคานิยมความคิดความเชื่อเรื่องเพศมาจาก
ตะวันตก ในชวงเวลานั้นคํานิยามตัวตนทางเพศแบบผูหญิงที่รักเพศเดียวกัน
เทาที่มีอยู ถาไมใชคําซึ่งใชทับศัพทในภาษาอังกฤษอยางคําวา “เลสเบี้ยน”
(Lesbian) ซึ่งเปนคําที่มาพรอมกับชุดการอธิบายความรูดานจิตวิทยาแบบเกาที่
มองวาเรื่องการรักเพศเดียวกันเปนความผิดปกติทางจิต หรือเปนความเบี่ยงเบน
ทางเพศ หรือไมก็ชวนใหคิดถึงภาพในหนังเอ็กซที่แสดงถึงการรวมเพศระหวาง
ผูหญิงกับผูหญิง ซึ่งทําขึ้นเพื่อตอบสนองจินตนาการทางเพศของผูชมที่เปนผูชาย
ก็จะเปนแคคําเรียกหญิงรักหญิงอยางเฉพาะเจาะจงเปนกลุมๆ ไป เชน คําวา
“ทอม” และ “ดี้” ซึ่งไมครอบคลุมไปถึงหญิงรักหญิงทุกกลุม
คําวา “หญิงรักหญิง” จึงเกิดขึ้นมาภายใตแนวคิดการนิยามตัวตนดวย
คําภาษาไทยซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมา ฟงดูเปนกลาง ปราศจากอคติ
ทางเพศ ครอบคลุมความเปนหญิงรักหญิงหลากหลายกลุม และไมเนนไปที่
พฤติกรรมทางเพศสัมพันธเพียงอยางเดียว และทางกลุมอัญจารีก็ไดใชคําๆ นี้
ทั้งในการสื่อสารภายในกลุมหญิงรักหญิงเอง และรณรงคกับสาธารณะมาโดย
ตลอด ซึ่งก็ดูเหมือนวาจะไดรับตอบรับเปนอยางดีในระดับหนึ่ง ในแงที่สื่อมวลชน
ไดรับเอาคําๆ นี้ไปใชกันอยางแพรหลาย
ใหบุคคลที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศเขาเรียนในสถาบันราชภัฏ กลุมอัญจารีก็ไดขยายขอบเขตของ
การทํางาน จากที่เคยเคลื่อนไหวแตเฉพาะในประเด็นเรื่องสิทธิของหญิงรักหญิง มาเปนการเคลื่อนไหว
เพื่อสิทธิของกลุมบุคคลที่รักเพศเดียวกันทั้งชายและหญิง กลุมอัญจารีไดเปดตัวอยางเปนทางการ
ครั้งแรกดวยการเขียนจดหมายแนะนํากลุมไปลงในคอลัมนของ “โก ปากน้ํา” ในนิตยสาร “แปลก”
ซึ่งเปนนิตยสารฉบับแรกๆ ของไทยที่มีคอลัมนเกี่ยวกับเกย ทอม ดี้ พ.ศ. 2536.
สุไลพร ชลวิไล