Page 184 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 184
บทที่ 4 เพศวิถี: หญิงรักหญิง 167
พฤติกรรม การเลียนแบบ หรือตัวตนที่ไมอาจเปดเผย
การเกิดขึ้นของคําวา “หญิงรักหญิง” และ “กลุมอัญจารี” อาจดูเหมือนเปน
ปรากฏการณใหมของสังคมไทย แตที่จริงแลวเรื่องราวพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ
ระหวางผูหญิงกับผูหญิงเปนสิ่งที่มีมานานแลว โดยมีหลักฐานปรากฏใหเห็นอยู
มากมายในประวัติศาสตรผานคําวา “เลนเพื่อน” ทั้งในกฎมณเฑียรบาลสมัย
สมเด็จพระเจาอูทองที่มีบทลงโทษสนมกํานัลที่คบกันฉันชูสาว ในกลอนเพลงยาว
สมัยตนรัตนโกสินทรที่แตงขึ้นจากเรื่องราวความสัมพันธระหวางหมอมหามสองคน
ในสมัยรัชกาลที่ 3 และในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 4 ที่ทรงเตือนพระราชธิดา
ของพระองควา “อยาเลนเพื่อนกับใครเลย มีผัวมีเถิด” คําวา “เลนเพื่อน” ในที่นี้
เปนคํากิริยา อธิบายถึงการมีเพศสัมพันธ หรือการมีความสัมพันธเชิงชูสาว
ระหวางผูหญิงกับผูหญิงดวยกัน แตไมไดหมายถึง บุคลิกภาพ หรือตัวตนทาง
เพศภาวะ ตัวตนทางเพศวิถีของผูหญิงที่รักเพศเดียวกันแตอยางใด
แตถึงแมวาในสมัยกอนพฤติกรรม “เลนเพื่อน” จะถือเปนพฤติกรรม
ตองหามสําหรับผูหญิงชนชั้นสูงในราชสํานัก และมีบทลงโทษเฉพาะอยูใน
กฎหมาย แตก็ไมปรากฏวามีนางสนมกํานัลคนใดถูกลงโทษดวยการมีพฤติกรรมนี้
อาจเปนไดวาสังคมไทยไมไดมองวาพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธระหวาง
เพศเดียวกันของผูหญิงจะเปนเรื่องรายแรงจนถึงกับตองลงโทษอยางจริงจัง
และถาหากจะพูดถึงเรื่องตัวตนทางเพศ ที่ผานมาในภาษาไทยก็มีเพียงคําๆ
เดียวคือ คําวา “กะเทย” สําหรับเรียกเหมารวมทั้งตัวตนทางเพศภาวะ และเพศวิถี
ทุกแบบ ไมวาจะในกรณีของ “ผูชายที่ตองการเปนผูหญิง และผูหญิงที่ตองการ
จะเปนผูชาย” “ผูมีอวัยวะเพศไมสมบูรณ” รวมถึง “ผูหญิงและผูชายที่ไมได
ตองการจะเปลี่ยนตนเองเปนเพศตรงขามแตมีความรักและมีเพศสัมพันธกับ
เพศเดียวกัน” ทั้งหมดนี้สะทอนวาการมีพฤติกรรมทางเพศระหวางคนเพศเดียวกัน
ของทั้งผูหญิงและผูชายเปนสิ่งที่มีมานานแลวเพียงแตไมไดรับการตระหนักถึง
หรือยอมรับจากสังคมสวนใหญ ยิ่งในกรณีของผูหญิงยิ่งถูกมองวาเปนพฤติกรรม
เลนๆ ไมจริงจัง หรือเปนการทําตามกระแสแฟชั่น สามารถเปลี่ยนแปลงได ถาไดมี
ความสัมพันธกับผูชายมากขึ้น
สุไลพร ชลวิไล