Page 100 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 100
42 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
(12) อนุสัญญาฉบับที่ 127 ว่าด้วยน้ าหนักสูงสุดที่อนุญาตให้คนงานคนหนึ่งแบกหามได้ พ.ศ.
2510 (ค.ศ. 1967)
(13) อนุสัญญาฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ าที่อนุญาตให้จ้างงานได้ พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973)
(14) อนุสัญญาฉบับที่ 182 ว่าด้วยการห้ามและการด าเนินการโดยทันทีเพื่อขจัดรูปแบบที่เลวร้าย
ที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
ข้อเสนอแนะขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจ้างงานข้อที่ 366 เกี่ยวกับการ
เลิกจ้าง (Termination of Employment Recommendation No.166 of 1982) ระบุว่า “อายุของลูกจ้าง”
ไม่ควรเป็นเหตุผลที่นายจ้างใช้ในการเลิกจ้าง
ดังนั้น ในปัจจุบัน จึงมีความพยายามในการร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของผู้สูงอายุ (Convention
on the Rights of Older Persons) โดยองค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะท างานเปิดว่าด้วยผู้สูงอายุ (UN
Open-ended Working Group on Ageing) เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 เพื่อการแก้ไขปัญหาช่องว่างในการ
คุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้น เช่น การไม่มีตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่มีผลผูกพันทาง
กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุโดยตรง การขาดกลไกในการติดตามสิทธิของผู้สูงอายุ เป็นต้น
2.2 ประเทศไทยกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ส าหรับประเทศไทยนั้น ได้ร่วมลงมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ต้น แม้
ปฏิญญาสากลดังกล่าวจะไม่ได้มีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ อันจะก่อให้เกิดพันธะกรณีตามหลัก
กฎหมายระหว่างประเทศก็ตาม แต่ก็ได้พยายามปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักกฎหมายพื้นฐานที่ก าหนดไว้ใน
60
ปฏิญญาดังกล่าวด้วยดีตลอดมา
การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ท าให้ประเทศไทยเกิดพันธะผูกพัน
ที่จะต้องด าเนินการตามพันธกิจหลักของสนธิสัญญา 4 ประการ คือ
1) การประกันให้เกิดสิทธิต่าง ๆ ตามที่ระบุในสนธิสัญญา ซึ่งส่วนใหญ่ถูกระบุแล้วในรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย
2) การปฏิบัติให้เกิดสิทธิตามที่รับรองไว้ในสนธิสัญญาด้วยความก้าวหน้า ได้แก่ การแก้ไขกฎหมาย
ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา
3) การเผยแพร่หลักการของสิทธิตามสนธิสัญญานั้นให้กว้างขวาง เพี่อให้เจ้าหน้าที่รัฐได้รับทราบและ
น าไปปฏิบัติให้เกิดสิทธิต่าง ๆ รวมทั้งให้ประชาชนชนได้รับทราบและสามารถปกป้องสิทธิของ
ตนเองได้
4) การจัดท ารายงานของประเทศเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการด าเนินงานให้เกิดสิทธิต่าง ๆ ตามที่
สนธิสัญญานั้น ๆ ระบุไว้ และเสนอรายงานต่อองค์กร (Monitoring Body)
60 จาก กลไกในการปฏิรูปกฎหมายและพัฒนาคุณภาพของกฎหมายไทยในปัจจุบัน, โดย เพลินตา ตันรังสรรค์, 2560,
สืบค้นจาก http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/b199.pdf