Page 235 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 235
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 177
เปลี่ยนนโยบายการจ้างงานเพื่อให้ยังคงแรงงานที่มีคุณภาพนี้ต่อไป รัฐจึงส่งเสริมการจ้างงานส าหรับลูกจ้าง
สูงอายุ ส่งเสริมแผนการฝึกอบรมส าหรับลูกจ้างสูงอายุซึ่งท างานอยู่ให้สิทธิประโยชน์แก่นายจ้าง เช่น ให้บริษัท
ที่จ้างแรงงานสูงอายุส าหรับบริษัทที่มีคนงานมากกว่า 100 คน ถ้ารับสมัครลูกจ้างที่มีอายุมากกว่า 55 ปี จะ
ได้รับยกเว้นการจ่ายเงินซึ่งนายจ้างต้องจ่ายให้รัฐส าหรับการประกันการว่างงาน นอกจากนี้ รัฐยังีมาตรการที่จะ
น าคนสูงอายุมาท างานและขยายการท างานและระยะเวลาการจ้างงานออกไปให้ยาวขึ้นและในอนาคตก าลัง
วางแผนยกเลิกการก าหนดเกษียณอายุของนายจ้าง
General Equal Treatment Act of 2006 มีบทบัญญัติที่ลดการกีดกันการเข้าถึงการจ้างงาน
ส าหรับแรงงานสูงอายุ คือการรับสมัครงาน เช่น การโฆษณาว่าต้องการลูกจ้างหนุ่มสาวที่เต็มไปด้วยพลังและ
ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งข้อความเช่นนี้เป็นพฤติกรรมที่ชี้ให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติทางอายุในการจ้างงานของ
นายจ้างได้
General Equal Treatment Act of 2006 ในส่วนคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ ถ้านายจ้างฝ่าฝืน
ข้อตกลงการห้ามเลือกปฏิบัติทางอายุในการจ้างงานถือว่าการกระท าดังกล่าวของนายจ้างเป็นโมฆะ (มาตรา 7
(2)) กฎหมายนี้ไม่เพียงแต่ใช้กับนายจ้างเท่านั้นแต่ยังใช้กับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการท างานด้วย เช่น เพื่อน
216
ร่วมงาน บุคคลที่สามและสหภาพแรงงาน (มาตรา 7(1))
3.6.2 ผู้สูงอายุกับการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต
3.6.2.1 สถานการณ์
จากข้อมูลของ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development)
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 ได้แสดงรายละเอียดของการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลสิทธิประโยชน์
การจัดหาแหล่งเงินทุน และความครอบคลุมในการให้บริการการใช้จัดสรรงบประมาณไว้ ดังนี้
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนีใช้เงินงบประมาณจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จ านวน
1.3 % ส าหรับการดูแลระยะยาวในสถานบริการผู้สูงอายุ ใน ปีค.ศ.2008และสัดส่วนนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น
สองเท่าในปี ค.ศ. 2050ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี จะมีประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุ
ตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไปมากเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศ OECD
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี จัดการรูปแบบ “การประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal
Coverage)”ส าหรับการดูแลระยะยาว ซึ่งระบบนี้คล้ายคลึงกับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี เนเธอร์แลนด์ และ
ลักเซ็มเบิร์ก กล่าวคือ ใช้ระบบประกันสังคม ต่อมามีการปรับปรุงเงื่อนไขของการผลประโยชน์ของการประกัน
สุขภาพระยะยาวของเยอรมัน (LTC Insurance) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถรับภาระ
ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพได้ แต่อย่างไรก็ดีค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาวในอนาคตมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น
ข้อเท็จจริงของการให้บริการการดูแลผู้สูงอายุสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี มีดังนี้
216 จาก การคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ, (น. 68-70), โดย อรรถพร บัวพิมพ์, 2552, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.