Page 239 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 239

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 181

               ศาลแต่งตั้ง บุคคลที่ไม่สามารถให้การด้วยตัวเอง เพราะมีปัญหาด้านสภาพจิตหรือไม่สามารถเข้าใจข้อเท็จจริง

               ได้ หรือประเด็นทางกฎหมายมีความซับซ้อนเกินกว่าคนทั่วไปจะเข้าใจได้
                         เยอรมันจะไม่มีการก าหนด Mean test และ merit test แต่จะใช้หลักเกณฑ์ว่า หากบุคคลใดถูก
               กล่าวหาว่า กระท าผิดและต้องถูกลงโทษจ าคุกน้อยกว่า 1 ปี จะไม่ได้รับการแต่งตั้งทนายหรือนักกฎหมายให้
               เว้นแต่จะแจ้งต่อศาลว่าไม่สามารถหาทนายได้ การพิจารณาว่าจะให้การช่วยเหลือหรือไม่อย่างไร อยู่ที่การไต่
               สวนของศาลและระบุ

                         ในชั้นไต่สวน แม้ว่าจะให้สิทธิได้รับการแต่งตั้งทนายความจากศาล แต่ก็ไม่มีการอนุญาตให้
               ผู้ต้องหาได้ปรึกษากับทนายความก่อน มีเพียงบางส่วนที่เจ้าหน้าที่ต ารวจอาจประสานงานให้พบกับทนายความ
               ได้ หรือแม้แต่ทนายจะอาสาเข้ามาช่วยแต่ก็ไม่เปิดช่องทางให้กระท าได้ ทนายที่ศาลแต่งตั้งปกติจะได้ค่าจ้าง

               น้อยกว่ากว่าว่าความเอง แต่ก็ต้องปฏิบัติ
                         ในเยอรมันได้มีการศึกษาถึง อุปสรรคในการเข้าถึงความยุติธรรม พบว่า  มีหลากหลายออกไป ซึ่ง
               มีตั้งแต่การขาดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมาย (Legal Rights) มีการใช้ถ้อยค าหรือวลีต่าง ๆ ในทาง
               เทคนิคซึ่งท าให้ดูยุ่งยาก ซับซ้อน มีความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่อุปสรรคที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่อง
               ใหญ่ในการเข้าถึงความยุติธรรมก็คือ  เรื่อง ค่าใช้จ่าย มีผลงานการศึกษาเชิงประจักษ์ที่ระบุว่า ปัญหาของ

               ประชาชนที่จะไม่ปรึกษานักกฎหมายก็คือ เรื่องค่าใช้จ่าย (Cost) แม้ว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ตอบที่เป็น
               ลูกความที่มีอ านาจในการทางเงินก็จะไม่พูดถึงค่าทนายความ แมทเธียร์ก็ได้เสนอทางออกว่ามีอยู่ 3 แนวทาง
               คือ

                         1. การพึ่งพาทรัพยากรที่ตนมีอยู่ทั้งทางตรงและทางอ้อม
                         2. การขอความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก เช่น Legal Aid หรือ Bro Bono)
                         3. การจัดท าประกัน
                         การพึ่งพาทรัพยากรที่มีอยู่อาจจะเป็นการปรึกษาหารือญาติพี่น้อง เพื่อน ๆ หรือบุคคลที่รู้จัก
               หรือเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นแนวทางพื้นฐานที่จะใช้ในการโดยทั่ว ๆ ไป ในส่วนของ    การขอความช่วยเหลือจาก

               บุคคลภายนอกนั้น โดยทั่ว ๆ ไปมักจะเป็นการขอความช่วยเหลือ   จากรัฐ โดยอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ
               องค์กรต่าง ๆ โรงเรียนสอนกฎหมายที่มีหน่วยช่วยเหลือและให้ ค าปรึกษาในทางกฎหมาย (Legal Aid Clinic)
               รวมไปถึงสมาคมมูลนิธิต่าง ๆ เพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือ ดูแลทางคดี อย่างไรก็ตามในการด าเนินงานของ

               หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ เหล่านี้บางครั้งก็มีข้อจ ากัดในด้านบุคลากร งบประมาณ และระยะเวลาที่ยาวนานใน
               การด าเนินคดี ในช่วงระยะเวลาต่อมาก็ได้มีการเสนอให้น าเอาระบบการจัดท าประกันภัยเข้ามาช่วยซึ่งประเทศ
               ต่าง ๆ ในยุโรปหลายประเทศได้น าเอามาใช้และค่อนข้างประสบความส าเร็จอย่างต่อเนื่อง
                                                                              221






                    221 แหล่งเดิม. (น. 59-61).
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244