Page 236 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 236

178 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                       - จ านวนผู้สูงอายุเยอรมันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะมีจ านวนประมาณ 20% (ค่าเฉลี่ย ของ OECD
             อยู่ที่ 15%) และมีจ านวนผู้สูงอายุเยอรมันที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป จ านวนประมาณ 5% (ค่าเฉลี่ย ของ OECD อยู่
             ที่ 4%)

                       - ในปี ค.ศ. 2008 สาธารณรัฐเยอรมันนีใช้เงินงบประมาณจ านวน 1.3% ส าหรับสถานบริการ
             ผู้สูงอายุ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ จ านวน 0.9%
                       - ในปี ค.ศ. 2006 ประชากรชาวเยอรมันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จ านวน 3.7% ได้รับ การดูแลระยะ
             ยาวที่บ้าน และ จ านวน 3.7% ได้รับการดูแลในสถาบันมีจ านวนผู้ดูแลสุขภาพระยะยาว (Care Worker)

             จ านวน 3.6 คน ต่อประชากรชาวเยอรมันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 1,000 คน ในปี ค.ศ. 2007
                       - ในปี ค.ศ. 2007 มีจ านวนเตียงให้บริการส าหรับการดูแลระยะยาว จ านวน 48 เตียง
                                                     217
             ต่อประชากรชาวเยอรมันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 1,000 คน

                       3.6.2.2 มาตรการทางกฎหมาย
                       ระบบประกันการดูแลระยะยาวจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติประกันการดูแลระยะยาวภาค
             บังคับ (statutory long term care insurance) ในปี พ.ศ. 2537 เป็นระบบประกันการดูแลระยะยาวที่แยก
             ออกจากระบบประกันสุขภาพ เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ โดยมีรัฐบาลกลางท า หน้าที่ในการ

             บริหารจัดการ ขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นท า หน้าที่ในการจัดสรรบริการในพื้นที่

                       ระบบประกันการดูแลระยะยาวแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ ระบบประกันการดูแลระยะยาว
             ภาครัฐ ครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 90 และระบบประกันการดูแลระยะยาวภาคเอกชน ครอบคลุม
             ประชากรประมาณร้อยละ 10
                       ระบบการจ่ายสมทบการบริหารจัดการงบประมาณการดูแลระยะยาว ได้ให้รายละเอียดดังนี้

             สาธารณรัฐเยอรมันนีมีระบบการเงินที่ผสมผสานทั้งแบบสาธารณะและเอกชน ระบบประกันการดูแลทางสังคม
             ในระยะยาวเป็นนโยบายระดับชาติในการร่วมจ่ายสมทบโดยหักจากรายได้ของประชาการชาวเยอรมันในอัตรา
             1.95 % (หักจากรายได้ของลูกจ้าง 0.975 % และนายจ้างจ่ายสมทบ 0.975 %) โดยค านวณที่เพดานเงินเดือน

             จานวน 3,600ยูโรต่อเดือน ในปี ค.ศ.2008ผู้เกษียณอายุต้องจ่ายเงินเข้าระบบเต็มจ านวนด้วยตนเอง (เริ่มมีผล
             บังคับใช้ตั้งแต่ ต้นปี ค.ศ. 2006) เมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2005 ลูกจ้างที่อายุ 23 ปีขึ้นไปที่ไม่มีบุตร เริ่มจ่าย
             อัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นจาก 0.975 %อีก 0.25 %
                       ส าหรับผู้ดูแลอย่างไม่เป็นทางการในครอบครัวได้รับวันพักผ่อนตามกฎหมาย จ านวน 4 สัปดาห์
             โดยระบบประกันการดูแลทางสังคมระยะยาวเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ ในบางองค์กรธุรกิจ ลูกจ้างสามารถ

             ได้วันลาพักผ่อน จ านวน 10 วัน หรือสามารถลาได้สูงสุดครึ่งปีโดยไม่ได้รับค่าจ้าง โดยการลานั้นเป็นการลาเพื่อ
             ดูแลสมาชิกในครอบครัว ซึ่งมาตรการนี้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติระยะเวลาในการดูแลรักษาพยาบาล (the
             Nursing Care Time Act) ผู้ดูแลอย่างไม่เป็นทางการในครอบครัวยังได้รับยกเว้นค่าใช้จ่ายในการศึกษาหรือ



                  217 จาก การจัดระบบดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวส าหรับผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน. เล่มเดิม.
             (น. 99).
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241