Page 234 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 234
176 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
การศึกษาข้างต้นได้ลบล้างความคิดที่ว่า ความยากจนคือแรงผลักดันให้คนท างานแม้จะมีอายุเกิน
65 ปี เพราะมีผู้ที่อายุระหว่าง 65-74 ปี ซึ่งมีเงินได้หลังหักภาษีแล้วมากกว่า 4,500 ยูโรต่อเดือนถึง 24.3
เปอร์เซ็นต์ที่ยังคงท างานอยู่ ในขณะที่มีผู้มีเงินได้หลังหักภาษีแล้วน้อยกว่า 1,100 ยูโรต่อเดือนเพียง 4.9
เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งรายงานการศึกษาดังกล่าวมองว่า การที่ผู้จ้างงานตนเองท างานต่อภายหลังอายุเกิน 65 ปี
นั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ยังมีกรณีของผู้มีคุณสมบัติสูง เช่น ศาสตราจารย์ที่ยังคงท างานโดยไม่เกษียณอายุเพราะ
มองเห็นโอกาสที่จะเติมเต็มความส าเร็จของชีวิต นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มว่าคนท างานจะท างานต่อหลัง
วัยเกษียณหากคู่ชีวิตยังท างานอยู่
รายงานได้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างภูมิภาคของเยอรมนีอย่างชัดเจน เช่น รัฐบาเดิน-
เวือร์ทเทมแบร์ก ที่ถือว่า การท างานของคนเลยวัยเกษียณเป็นเรื่องปกติ และมีคนเลยวัยเกษียณถึง 10.5
เปอร์เซ็นต์ที่ยังท างานต่อ ในขณะที่รัฐเมคเลนบูร์ก-เวสเทิร์น พอเมอราเนีย มีคนเลยวัยเกษียณเพียง 4.9
เปอร์เซ็นต์ที่ยังท างานต่อ ซึ่งเป็นผลจากความแตกต่างทางประวัติศาสตร์ของทั้งสองรัฐ กล่าวคือรัฐเมค
เลนบูร์ก-เวสเทิร์น พอเมอราเนีย เป็นรัฐในเยอรมันตะวันออกเก่าและยังคงมีจารีตสังคมเคร่งครัดเรื่องการ
เกษียณอายุในต้นวัยหกสิบ แต่รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก มีวัฒนธรรมการเติบโตของธุรกิจขนาดเล็ก
หลากหลายแขนง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ทางเลือกและความยืดหยุ่นแก่ลูกจ้างเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น การ
เกษียณอายุ เป็นต้น
นักเศรษฐศาสตร์ประมาณการว่า ในอีก 15 ปีข้างหน้า จะมีแรงงาน 50 เปอร์เซ็นต์เข้าสู่วัย
เกษียณอายุ ดังนั้นเยอรมนีจึงต้องปรับทัศนคติเรื่องการท างานหลังอายุ 65 ปี ทั้งนี้ นายไกลซ์เสนอแนะว่า
สัญญาจ้างที่มี ความยืดหยุ่นนั้นคือกุญแจส าคัญ ต้องมีการใช้กฎหมายที่ท าให้บริษัทสามารถเสนอสัญญาจ้าง
ที่ลดชั่วโมงการท างานแก่ลูกจ้างสูงวัยได้ โดยเสนอแนะว่า คนสูงอายุควรท างานเพียง 15 ชั่วโมง แทนการ
215
ท างาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
3.6.1.2 มาตรการทางกฎหมาย
ในปี 2000 สหภาพยุโรปได้ออกแนวทางการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในการจ้างงานแห่งสหภาพ
ยุโรป (Directive 2000/78/EC) ก าหนดให้บรรดาประเทศสมาชิกออกกฎหมายคุ้มครองการเลือกปฏิบัติ
เกี่ยวกับการจ้างงานโดยให้ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในการจ้างงานบนพื้นฐานแห่งอายุ เพศ ศาสนา ความพิการ
และภายใต้ข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิก ท าให้ประเทศเยอรมนีได้ออกรัฐบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติอย่าง
เสมอภาค General Equal Treatment Act of 2006 กฎหมายฉบับนี้ให้ความคุ้มครองลูกจ้างและผู้สมัครงาน
ผู้ประกอบการอิสระ ฝึกงาน ลูกจ้างทดลองงานรวมถึงการท างานที่บ้าน
แรงงานสูงอายุในเยอรมันจะท างานจนถึงอายุประมาณ 65 ปี ซึ่งแรงงานในช่วงอายุ 50-65 ปี
ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ แต่เนื่องจากการท างานของลูกจ้างกลุ่มนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
หรือนายจ้างท าให้ลูกจ้างไม่ประสงค์ที่จะท างานต่อไป ปัญหาแรงงานที่มีคุณภาพออกจากระบบท าให้รัฐต้อง
215 จาก คนเยอรมันท างานจนเลยวัยเกษียณมากขึ้น, โดย ฝ่ายแรงงานประจ าสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน,
2558, สืบค้นจาก http://www.mol.go.th/content/ฝ่ายแรงงาน-ประจ า-สอท-ณ-กรุงเบอร์ลิน-คนเยอรมันท างานจนเลยวัย
เกษียณมากขึ้น