Page 233 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 233
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 175
3.6.1 ผู้สูงอายุกับการคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ
3.6.1.1 สถานการณ์
ผลการศึกษาโดยสถาบันเศรษฐกิจแห่งเยอรมัน ณ เมืองโคโลญจน์พบว่า ปัจจุบันมีจ านวนคน
เยอรมันที่ท างานจนเลยวัย 65 ปีเพิ่มมากขึ้น และผู้ที่มีฐานะดีมีแนวโน้มที่จะท างานเลยวัยเกษียณมากขึ้น
ตัวอย่างของคนที่ไม่ยอมหยุดท างาน ได้แก่ นายเฮลมุท ชมิดท์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นที่ชื่นชอบ
มากที่สุดของคนเยอรมัน ซึ่งแม้ขณะนี้จะมีอายุ 96 ปีแล้วแต่ยังคงท างานชั่วโมงละ 40 สัปดาห์ และยังมีผู้
ต้องการขอรับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองจนถึงปัจจุบัน โดยนายชมิดท์ได้กล่าวต่อที่ประชุมซึ่งจัด
โดยมูลนิธิ Zeit Stiftung ร่วมกับหอการค้าแห่งฮัมบวร์กเพื่อหาแนวทางเพื่อการขยายอายุการท างานของคน
เยอรมัน ว่าในอดีตประชากรอาจไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มากนักเพราะมักเสียชีวิตเสียก่อนวัยเกษียณ แต่เมื่อ
ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ก็มีความจ าเป็นจะต้องท างานให้นานขึ้น
ในช่วงหลัง ๆ มานี้ ฝ่ายการเมืองของเยอรมันได้หารือกันเรื่องการขยายก าหนดเกษียณอายุกัน
มากขึ้น เพราะเยอรมนีเป็นประเทศที่มีประชากรอายุมากที่สุดในโลก (และเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการเจริญ
พันธุ์ต่ าสุด) จึงจ าเป็นต้องหาหนทางเพื่อรับมือกับจ านวนผู้เกษียณอายุที่ก าลังเพิ่มจ านวนมากยิ่งขึ้น ในขณะที่
คนหนุ่มสาวที่จะมาทดแทนผู้เกษียณอายุเหล่านี้กลับน้อยลงตามล าดับ
เมื่อปี 2550 ได้มีการหารือกันเรื่องการเพิ่มก าหนดเกษียณอายุเป็น 67 ปี แต่ในปี 2557 กลับมี
การออกกฎหมายใหม่ที่สนับสนุนโดยพรรคสังคมประชาธิปไตย (SPD) ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ชั้นน าให้
ค าอธิบายว่า การลดอายุเกษียณให้เหลือ 63 ปีส าหรับผู้ที่จ่ายเงินประกันสังคมมาแล้วเป็นเวลา 45 ปีนั้นจะ
ก่อให้ความเสียหายต่อเยอรมนีเป็นอย่างมาก
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า เยอรมนีมีจ านวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2548
มีคนเยอรมันที่อายุเกิน 65 ปี จ านวน 5.0 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับการจ้างงาน และปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 8.7
เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกินกว่าอัตราเฉลี่ยของอียูที่อยู่ที่ 8.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอังกฤษมีถึง 15.5 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้
ดอกเตอร์วิโด ไกลซ์ จากสถาบันเศรษฐกิจแห่งเยอรมัน ณ เมืองโคโลญจน์แจ้งกับหนังสือพิมพ์เดอะโลคอลว่า
มีเหตุผลหลักสามประการที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้
ประการแรกคือในช่วง 10 ปีมานี้ ตลาดแรงงานมีความน่าสนใจมากขึ้น การว่างงานลดลงจาก
ประมาณห้าล้านเหลือสามล้านคน สถานการณ์นี้ท าให้คนมีโอกาสมากขึ้นที่จะท างานอย่างต่อเนื่องจนอายุเกิน
65 ปี
ประการที่สองคือความเชื่อที่ว่าคนมีความสามารถจนถึงอายุ 65 ปีนั้นได้เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
เพราะปัจจุบันคนอายุช่วงวัยนี้ได้มองตนเองแตกต่างไปจากเดิม โดยมีความเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่จะมีโอกาส
พัฒนาตนเองในวัยขนาดนี้
ประการสุดท้าย คือ แรงกดดันด้านประชากรที่ส่งผลให้เกิดความต้องการให้คนสูงอายุท างาน
ต่อไปแม้จะมีอายุถึงช่วงวัยที่หากเป็นคนสมัยก่อนคงมีความสุขกับการเกษียณอายุไปแล้ว