Page 238 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 238

180 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                    3.6.3 ผู้สูงอายุกับการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรม

                       3.6.3.1 สถานการณ์

                       ในประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีนั้นไม่มีกลไกในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในด้านกระบวนการ
             ยุติธรรมไว้เป็นการเฉพาะ อีกทั้งรูปแบบหรือกรอบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย อย่างเป็นทางการ
             (Formal legal aid scheme) ด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยตรงในเยอรมันไม่มี เนื่องจากใน
             เยอรมันการด าเนินคดีอาญาการต่อสู้คดีอาญาเป็นเรื่องสภาพบังคับตามกฎเกณฑ์ (not wendige

             Verteidigung) ซึ่งจะมีสภาพบังคับที่เข้มข้นมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระท าหรือข้อหาซึ่งไม่
             จ าเป็นที่รัฐจะต้องจ่ายเงินช่วยเหลือ กล่าวคือ บุคคลใดก็ตามที่ถูกกล่าวหาว่ากระท าความผิดทางอาญามีสิทธิใน
             การที่จะได้รับการดูแลจาก “ทนายความที่ศาลแต่งตั้ง (Court-appointed law)” ตามการทดสอบด้าน
             สินทรัพย์ที่สามารถประเมินราคา (Financial test) นอกจากนี้ในบางกรณีผู้ต้องหาสามารถระบุหรือร้องขอ

             ทนายความที่ตนเองต้องการได้ ดังนั้น นักกฎหมายทุกคน อาจจะได้รับการแต่งตั้งโดยศาลให้ท าหน้าที่เป็นที่
             ปรึกษาทางคดีได้  นอกจากนี้ ในเยอรมันก็ไม่มีกรอบการด าเนินการแบบ Public defender scheme แม้การ
             ว่าความนั้นนักกฎหมายที่ศาลแต่งตั้งอาจจะไม่ได้รับค่าตอบแทน หรือหากได้ก็จะได้รับเมื่อการพิจารณาสิ้นสุด
             ลง ซึ่งหากพบว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระท าความผิดจริง ก็จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าทนายความ


                       ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่คนเยอรมันทั่วไปจะไปซื้อประกันภัยในการต้องเสียค่าใข้จ่ายในการ
             ด าเนินคดี ความเสี่ยงที่เอาประกันขึ้นอยู่กับแต่ละคดี แต่ถ้าเป็นคนยากจนรัฐก็จะจ่ายเงินให้แทนเป็น
             ค่าตอบแทนนักกฎหมายที่ศาลตั้ง
                                     220

                       3.6.3.2 มาตรการทางกฎหมาย
                       ระบบการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายในเยอรมันเป็นแบบการกระจายอ านาจ ซึ่งรัฐบาลกลาง
             ของเยอรมันจะเป็นผู้ออกระเบียบว่าด้วยทนายความที่ศาลแต่งตั้ง ซึ่งทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งจะได้
             ค่าตอบแทนต่ ากว่าทนายความส านักงานกฎหมายและระบบการจ่ายเงิน ก็ยังยึดกับระบบราชการและ
             ระยะเวลาเบิกจ่ายช้ามาก

                       ในทางปฏิบัติ นักกฎหมายแต่ละคนจะต้องขึ้นทะเบียนกับเนติบัณฑิตยสภา การด าเนินการต่าง ๆ
             เกี่ยวกับนักกฎหมายและการควบคุมคุณภาพ จึงขึ้นอยู่กับเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งหากการปฏิบัติงานของ
             ทนายความที่ศาลแต่งตั้งไม่ดี สามารถร้องไปที่เนติบัณฑิตยสภาได้ ซึ่งเนติบัณฑิตยสภาเองก็ยังไม่มีกลไกการ

             ตรวจสอบและประกันคุณภาพนักกฎหมายเหล่านี้
                       บุคคลใดก็ตามที่ถูกกล่าวหาว่าต้องคดีอาญาในเยอรมัน ไม่ว่าจะเป็นคนเยอรมัน คนต่างชาติ หรือ
             คนที่ไม่ใช่คนที่มีถิ่นฐานในเยอรมัน (Non-residents) ระหว่างการไต่สวนศาลให้อ านาจที่จะได้รับทนายความที่






                  220 จาก โครงการศึกษาประเมินผลส าเร็จกองทุนยุติธรรม (น. 59), โดย ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล, 2558, กรุงเทพฯ:
             กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม.
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243