Page 237 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 237

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 179

               ฝึกอบรม ผู้ดูแลอย่างไม่เป็นทางการ ที่ท างานต่ ากว่า 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และให้การดูแลอย่างน้อย 14

               ชั่วโมงต่อสัปดาห์ได้รับค่าตอบแทนโดย โครงการการประกันการดูแลระยะยาว (LTC Insurance
                                                          218
               programme) อีกทั้งยังได้รับการประกันอุบัติเหตุด้วยเช่นกัน
                         การรับสิทธิประโยชน์นั้น ผู้ประกันตนจะต้องผ่านการประเมินทั้งทางด้านคลินิกและ
               ความสามารถในการใช้ชีวิตประจ าวัน การประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตประจ าวันโดยทีมแพทย์และ
               พยาบาล สิทธิประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากกองทุนเมื่อผ่านการประเมินแล้ว มีความแตกต่างกันตามความ

               ต้องการและข้อจ ากัดของความสามารถในการใช้ชีวิตประจ าวัน โดยแบ่งระดับความต้องการการดูแลออกเป็น
               3 ระดับ คือ
                         1. ต้องการการช่วยเหลือค่อนข้างน้อย ครอบคลุมบริการด้านสุขอนามัยต้องการความช่วยเหลือ

               ดูแลอย่างน้อยประมาณ 90 นาทีต่อสัปดาห์
                         2. ต้องการการช่วยเหลือระดับปานกลาง ครอบคลุมบริการด้านสุขอนามัยต้องการความ
               ช่วยเหลือดูแลอย่างน้อยประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
                         3. ต้องการการช่วยเหลือเป็นอย่างมาก จ าเป็นต้องมีผู้ดูแลตลอดวัน และต้องการความช่วยเหลือ
               อย่างน้อยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สิทธิประโยชน์ที่จัดสรรแก่ผู้รับบริการมีทั้งรูปแบบของตัวเงินและ

               บริการที่เหมาะสมต่อความต้องการและผลการพิจารณาปัจจัยทางด้านรายได้และอาชีพ

                         รูปแบบการรับบริการตามสิทธิประโยชน์แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ การดูแลโดยครอบครัว การดูแล

               โดยพยาบาลเฉพาะทาง และการดูแลโดยสถานดูแลผู้สูงอายุโดยสิทธิประโยชน์แบ่งออกเป็นดังนี้
                         1. สิทธิประโยชน์ด้านการเงิน เป็นการสนับสนุนทางเงินเพื่อน าไปใช้ในสิ่งที่มีความจ าเป็น อาทิ
               การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวในกรณีที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวเอง การจัดจ้างผู้ดูแลที่มีความช านาญใน
               การดูแล รวมถึงการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสม

                         2. สิทธิประโยชน์ด้านบริการ จัดสรรบริการโดยหน่วยงานสาธารณสุขที่ท าสัญญา
                         การเลือกรับบริการตามรูปแบบสิทธิประโยชน์ขึ้นอยู่กับความต้องการและความจ าเป็นของ
               ผู้สูงอายุ คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสูง หรือมีความสามารถในการดูแลตนเองได้น้อย มักเลือกรับบริการใน
               รูปแบบของสถานดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีความสามารถในการดูแลตัวเองได้มาก

               ส่วนใหญ่เลือกรูปแบบการบริการที่บ้าน  โดยผลประโยชน์ทางการเงินสนับสนุนจะมีความแตกต่างไปตามความ
                                                                     219
               จ าเป็นและความรุนแรงของความต้องการบริการหรือภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ





                    218 จาก การจัดระบบดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวส าหรับผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน. เล่มเดิม. (น.
               100).
                    219 จาก ระบบประกันการดูแลระยะยาว: ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย (น. 16-17), โดย วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์
               และยศ วัชระคุปต์, 2560, กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242