Page 240 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 240
182 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
3.6.3.3 กลไก
ในประเทศเยอรมนี มีกลไกการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้มีรายได้น้อย ประกอบด้วย 2
ลักษณะ คือ 1) การช่วยเหลือโดยการให้ค าแนะน าทางกฎหมาย การช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาล
(Legal Advice Scheme and assistance with court costs) ซึ่งมีหลักการเหมือนกับในระบบกฎหมายไทย
และ 2) การจัดท าประกันค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย (Legal Expense Insurance) โดยในที่นี้จะขอน าเสนอ
เฉพาะประการหลังเนื่องจากเป็นกลไกที่ไม่ปรากฏในระบบกฎหมายไทย
การจัดท าประกันค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย ซึ่งเรียกกันย่อย ๆ ว่า (LEI) เป็นการด าเนินการที่มี
ความมุ่งหมายที่จะจัดหาการคุ้มครองทางกฎหมายในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการฟ้องคดี หรือการต่อสู้คดีที่
จ าเป็นต่อการแก้ไขข้อพิพาท นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดท าประกันค่าใช้จ่ายทางกฎหมายนั้น ด าเนินการกัน
ในหลาย ๆ รูปแบบไม่ได้จ ากัดเฉพาะการประกันด้านการฟ้องร้อยคดีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือทาง
กฎหมายอื่น ๆ และการแนะน ากฎหมายทางโทรศัพท์ (Advice Lines) ด้วย
ประเทศแรกที่น าเอาระบบการจัดประกันค่าใช้จ่ายทางกฎหมายมาใช้ครั้งแรก คือ ฝรั่งเศส โดย
น ามาใช้ในตอนต้นปี ค.ศ. 1905 เนื่องจากมีคดีเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ (Automobile Accidents)
เกิดขึ้นสูงมาก ต่อมาแนวทาง LEI ก็ถูกน าเอาไปใช้อย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป เยอรมนีเองได้ตั้งบริษัทประกัน
ค่าใช้จ่ายเพื่อด าเนินธุรการขึ้นในปี ค.ศ. 1982 ในอังกฤษการประกันค่าใช้จ่ายทางกฎหมายเป็นรูปแบบของ
การประกันภัยแนวใหม่ที่ครอบคลุมถึง โดยมามีการด าเนินการที่เป็นรูปธรรมเมื่อต้นปี ค.ศ. 1974 เป็นต้นมา
แต่ต่อมาก็เริ่มลดต่ าลง เนื่องจากมีการด าเนินการและใช้ไปในทางที่ผิดกฎหมายและรัฐบาลได้เข้ามา
ควบคุมดูแล
ในเยอรมนีได้น าเอาแนวคิด (Modular Concept) มาใช้โดยรับจากการที่กรมธรรม์ประกันภัยได้
ระบุครอบคลุมการด าเนินการทุกอย่าง โดยถือว่า การต้องตกเป็นจ าเลยหรือการฟ้องร้องคดีนั้นถือเป็นการเสี่ยง
ภัย (Risk) อย่างหนึ่ง (แม้ว่าการประกอบอาชญากรรมโดย มีเจตนานั้นจะเป็นกรณียกเว้นและเดิมกรมธรรม์
ประกันภัยมักไม่รวมเอาการช่วยให้ค าปรึกษาทางกฎหมาย) และลูกความก็สามารถเลือกนักกฎหมายได้ ในการ
ด าเนินคดีซึ่งบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้ที่ด าเนินการจ่ายค่าทนายความ (ติดตามมาตรฐานของค่าขึ้นศาล) ค่าขึ้น
ศาล ค่าพยาน รวมไปถึงการบังคับคดี
การประกันภัยค่าใช้จ่ายในทางกฎหมายนั้นมีทั้งการประกันในลักษณะที่ก่อนเกิดเหตุการณ์
(Before the Event: BTE) และลักษณะประกันภัยหลังการเกิดเหตุการณ์ (After the Event : ATE) โดย
กรมธรรม์ประกันภัยที่ก่อนจะเกิดเหตุการณ์จะคล้าย ๆ กับระบุการประกันภัยทั่วไป คือ ครอบคลุมผลของ
เหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ในขณะที่กรมธรรม์ประกันภัยหลังการเกิดเหตุการณ์จะรวมเอาค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย
ในอนาคต (Future Legal Expense) อย่างไรก็ตามในกรณีของการประกันภัยหลังการเกิดเหตุการณ์มักจะเป็น
กรณีที่โอกาสในการชนะคดีมีสูง ซึ่ง ก็ท าให้ค่าประกันกรณีหลังการเกิดมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า การประกันภัย
222
ก่อนเกิด
222 แหล่งเดิม. (น. 61-62).