Page 181 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 181
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 123
ความแตกต่างในสถานภาพสมรสในหมู่ผู้ชายและผู้หญิงสูงอายุ สะท้อนในการจัดการที่อยู่อาศัย
ส าหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน ผู้สูงอายุหญิงมักจะไม่แต่งงานมากกว่าผู้สูงอายุชาย และมีโอกาสที่จะอาศัยอยู่
คนเดียว ในกลุ่มผู้หญิงอายุระหว่าง 65 – 74 ปี จะมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 4 (ประมาณร้อยละ 27) ที่อยู่อาศัย
คนเดียว และสัดส่วนนี้จะเพิ่มอย่างก้าวกระโดดเป็น ร้อยละ 42 ส าหรับกลุ่มผู้หญิงอายุ 74 ถึง 84 ปี และเป็น
ร้อยละ 56 ในกลุ่มผู้หญิงอายุตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไป ซึ่งแตกต่างจากกรณีของผู้สูงอายุชาย ที่มีเพียง ประมาณต่ า
กว่า 1 ใน 3 (ประมาณร้อยละ 30) ของผู้มีอายุตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไป น้อยกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 30) ที่อยู่อาศัยคน
เดียวตามล าพัง ผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยคนเดียว จะไม่มีสมาชิกในครัวเรือนมาช่วยอาบน้ า แต่งตัว ท ากับข้าว หรือ
ให้การดูแล ถ้าได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียว โดยเฉพาะผู้หญิง จะมีรายได้ระดับต่ า
และมีโอกาสอยู่ในฐานะยากจน ดังนั้น ในอนาคต ความต้องการในการดูแลสุขภาพที่บ้านและการบริการสังคม
ที่อยู่ในชุมชนจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างส าคัญ
3.3.1.2 ระดับการศึกษา
ระดับการศึกษาของผู้สูงอายุอเมริกัน เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางของทศวรรษที่
1960s ส่งผลให้สัดส่วนผู้สูงอายุมีระดับการศึกษาจบมัธยมปลายและอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น การจบการศึกษา
ระดับสูงกว่ามัธยม มีส่วนสัมพันธ์กับอายุขัยที่คาดหวังที่ยืนยาวและสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุ ในปี 1965
ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า มีเพียงร้อยละ 5 แต่ในปี 2014
สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 25 ทั้งผู้สูงอายุชายและหญิง (รูปที่ 20)
รูปที่ 20 ระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ชายและผู้หญิง อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ปี 2014