Page 182 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 182

124 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                       3.3.1.3 ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
                       ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อัตราความยากจนของผู้สูงอายุอเมริกันลดลงจากประมาณ ร้อยละ 30 ใน
             ปี 1966 เป็นร้อยละ 10 ในปี 2014 การขยายตัวของการประกันสังคมท าให้อัตราความยากจนลดลง (รูปที่ 20)
             อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การประกันสังคม จะช่วยลดความยากจนของผู้สูงอายุ แต่ก็ยังมีความแตกต่างเศรษฐกิจ

             เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุหญิง เนื่องจากความแตกต่างในรายได้ในช่วงวัยท างานที่ผู้หญิงได้รายได้จากการ
             ท างานต่ ากว่าผู้ชาย ท าให้รายรับจากการประกันสังคมเมื่อเกษียณต่ ากว่าของผู้สูงอายุชาย นอกจากนั้น ผู้หญิง
             มีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวขึ้นและมีชีวิตยืนยาวกว่าผู้ชาย รวมทั้งผู้สูงอายุหญิงมีแนวโน้มที่จะอยู่คนเดียวตามล าพัง

             ดังนั้น ผู้สูงอายุหญิงจึงมีความเปราะบางทางเศรษฐกิจมากกว่าผู้สูงอายุชาย

                          รูปที่ 21 อัตราความยากจนและเงินประกันสังคมต่อหัว ปี 1966 ถึง 2014


































                       (1) แหล่งรายได้
                       แหล่งรายได้ของผู้สูงอายุอเมริกัน มาจากหลายแหล่งทั้งจากผลประโยชน์จากการประกันสังคม

             บ านาญ เงินออมเพื่อการเกษียณ และรายได้จากการท างานเต็มเวลาหรือไม่เต็มเวลา ตั้งแต่ปี 1960 ประมาณ
             1 ใน 3 ของรายได้ของผู้สูงอายุ (65+ปี) มาจากการประกันสังคม และบ านาญได้เพิ่มจากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ
             18 ระหว่างปี 1962 – 1990 และยังคงสัดส่วนนี้มาจนถึงปัจจุบัน

                       รายรับจากค่าจ้างเงินเดือน ก็เป็นแหล่งรายได้ส าคัญอีกแหล่งหนึ่งของผู้สูงอายุอเมริกัน ที่ได้
             เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นของทศวรรษ 1990s พร้อมกับการเพิ่มขึ้นการเข้ามีส่วนร่วมในก าลังแรงงานของผู้สูงอายุ
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187