Page 160 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 160

102 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)


                    3.2.3 มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต


                       3.2.3.1 รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นปี 1947 และระบบการประกันสังคม (Social Security Systems)
                       รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นที่บัญญัติขึ้นในปี 1947 มาตรา 25 ได้ก าหนดหลักการพื้นฐานของการ

             พัฒนาระบบประกันสังคม และหลักการนี้จึงเป็นพื้นฐานของกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคม
             ต่อมา
                       (1) ระบบประกันสังคม (Social Security System): ในปัจจุบัน ระบบประกันสังคมของญี่ปุ่น
             ประกอบไปด้วยโครงการส าคัญ 5 โครงการ  ได้แก่ โครงการด้านบ านาญสาธารณะ (Public pension)
             โครงการด้านการประกันสุขภาพ (Health insurance) โครงการด้านการประกันการดูแลระยะยาว (Long-

             term care insurance) โครงการด้านการประกันการจ้างงาน (Employment insurance) และโครงการด้าน
             การประกันอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการท างาน พลเมืองทุกคนต้องเข้าร่วมอยู่ในโครงการด้านบ านาญสาธารณะ
             และโครงการด้านการประกันสุขภาพ ดังนั้น โครงการทั้งสองจึงเป็นโครงการที่ครอบคลุมพลเมืองทุกคน

             (Univeral coverage) ซึ่งเป็นลักษณะส าคัญของระบบประกันสังคมของญี่ปุ่น ยิ่งกว่านั้น พลเมืองอายุ 40 ปี
             ขึ้นไปจะได้รับการคุ้มครองครอบคลุมถึงการประกันการดูแลระยะยาว และผู้เป็นลูกจ้างจะได้รับการคุ้มครอง
                                                                     147
             การตกงานจากการประกันการจ้างงาน และการประกันอุบัติเหตุจากการท างาน
                       (2) แหล่งเงินสนับสนุน: แหล่งเงินสนับสนุนในการบริหารจัดการระบบประกันสังคมมาจากค่าเบี้ย
             ประกันสังคม (Social insurance premiums) และเงินอุดหนุนจากภาษี (Subsidy from tax revenue) ค่า

             เบี้ยประกันสังคมเป็นการร่วมจ่าย (Co-payments) โดยผู้ประกันตนตามความสามารถจ่าย (ระดับรายได้)
             ดังนั้น การประกันสังคมในประเทศญี่ปุ่น คือ การร่วมกันรับความเสี่ยงในหมู่ของผู้ประกันตน และใน
             ขณะเดียวกัน เป็นการช่วยกันกระจายรายได้ในหมู่ผู้ประกันเช่นกัน
                       (3) หน่วยงานรับผิดชอบ: ในด้านการบริหารระบบประกันสังคมและผู้ให้บริการด้านการ

             ประกันสังคมนั้น ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ (Ministry of Health, Labor and
             Welfare – MHLW) เป็นหน่วยงานรัฐที่มีอ านาจเต็มในการบริหารจัดการ โดย MHLW จะก าหนดมาตรฐาน
             ระดับชาติและส่งเสริมโครงการประกันสังคมที่มีความส าคัญและจ าเป็นต่อประเทศในการที่จะต้องมีการ
             ด าเนินการ ในขณะที่ส านักนายกรัฐมนตรี (The Cabinet Office) จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผน

             นโยบายพื้นฐานของรัฐ (The governmental basic policy plans) ที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคม เช่น
             นโยบายการสูงอายุของประชากรและการดูแลเด็ก และอื่น ๆ ส าหรับรัฐบาลในระดับท้องถิ่น เช่น  จังหวัด
             (Prefectures) และเทศบาล (เมือง ต าบล และหมู่บ้าน) จะน าแผนนโยบายพื้นฐานของรัฐไปด าเนินการด้าน
             บริการประกันสังคมต่าง ๆ รัฐบาลในระดับท้องถิ่นจะมีส านักงานสวัสดิการสังคม ศูนย์สาธารณสุข ในปัจจุบัน

             การกระจายอ านาจได้ด าเนินการไปในรูปแบบของการมอบอ านาจ (delegating) ให้กับรัฐบาลท้องถิ่น โดย




                  147 สรุปสาระส าคัญจาก Social Security in Japan (2014 edition), by National Institute of Population and
             Social Security Research, 2014, Retrieve from http://www.ipss.go.jp/s-info/e/ssj2014/PDF/ssj2014.pdf
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165