Page 162 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 162
104 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
รูปที่ 14 โครงสร้างระบบบ านาญของญี่ปุ่น
หมายเหตุ: ปรับปรุงจากการน าเสนอของ ยามาชิตะ (2559)
ระบบประกันสังคมของญี่ปุ่น จึงเป็นหลักประกันความมั่นคงให้แก่พลเมืองทุกคนในวัยแรงงาน
ด้วยระบบบ านาญแห่งชาติ และระบบบ านาญลูกจ้าง หลังจากเกษียณจากการท างาน โดยผู้ประกันตนจะได้รับ
เงินบ านาญพื้นฐานและเงินบ านาญผลประโยชน์เพิ่มเติม เมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป รวมทั้งคู่สมรส ผู้ที่อยู่ในอุปการะ
ของผู้เอาเงินประกันที่เป็นลูกจ้างหรือข้าราชการที่เกษียณ ก็สามารถรับเงินบ านาญพื้นฐาน
3.2.3.3 กฎหมายพื้นฐานด้านมาตรการส าหรับสังคมสูงอายุ
(The Basic Act on Measures for the Aging Society)
การคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรญี่ปุ่นนั้น เกิดขึ้นจากการที่สังคมของ
ประเทศได้กลายเป็นสังคมสูงอายุ และในปัจจุบันได้กลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super Aging
Society) ในปี 1995 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศกรอบมาตรการพื้นฐานระดับชาติส าหรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุที่
เรียกว่า กฎหมายพื้นฐานด้านมาตรการส าหรับสังคมสูงอายุ (The Basic Act on Measures for the Aging
Society – Act No. 129, 1995) โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานของคณะกรรมการนโยบายสังคมสูงอายุ
(Aging Society Policy Council) และรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ เป็นกรรมการ คณะกรรมการชุดนี้ได้ร่าง
หลักการพื้นฐานของมาตรการส าหรับสังคมสูงอายุ ท าการปรับปรุงแก้ไขความสัมพันธ์ในการปฏิบัติมาตรการ
ส าหรับสังคมสูงอายุระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมการปฏิบัติงานตามมาตรการที่ก าหนดขึ้น
รัฐบาลได้จัดท ากรอบประเด็น (Outline) ของมาตรการส าหรับสังคมสูงอายุตามกฎหมายพื้นฐานว่าด้วย
มาตรการส าหรับสังคมสูงอายุ ส าหรับใช้เป็นแนวปฏิบัติในระยะสั้นและระยะยาวแบบบูรณาการ