Page 161 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 161

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 103

               รัฐบาลกลางอุดหนุนเงินงบประมาณแก่รัฐบาลท้องถิ่น บนฐานของแนวคิด “ความเป็นอิสระของท้องถิ่น”

               (“Local autonomy”)
                         (4) ระบบ “หมายเลขของฉัน (“My Number”): เนื่องระบบประกันสังคมประกอบไปด้วยหลาย
               โครงการ การบริหารจัดการด้านผลประโยชน์และการจ่ายเบี้ยประกัน (contributions) มีการด าเนินการ
               แยกกันมาก่อนท าให้เกิดความไม่สะดวกต่อผู้เข้าร่วมโครงการและการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหา

               ดังกล่าว ได้มีการบัญญัติกฎหมายประกันสังคมและหมายเลขภาษี (The Social Security and Tax Number
               Law) ในปี 2013 และมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2016 โดยให้มีการก าหนดหมายเลขเฉพาะบุคคลแก่ผู้เข้า
               โครงการทุกคน รวมทั้งผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติและบริษัทต่างชาติในญี่ปุ่น ระบบ “หมายเลขของฉัน” (“My
               Number” system) จะถูกน ามาใช้ส าหรับการจัดการบริการด้านภาษีและการประกันสังคม

                         (5) ผู้ให้การบริการไม่เป็นการให้บริการเพื่อผลก าไร: ผู้ให้การบริการด้านประกันสังคม เช่น
               โรงพยาบาล คลินิกที่ให้บริการด้านดูแลสุขภาพ (health care) ศูนย์ดูแลรายวันและสถาบันส าหรับการดูแล
               ผู้สูงอายุระยะยาว (day-care centers and institutions for the elderly long-term care) ศูนย์บ าบัด
               ฟื้นฟูและศูนย์ช่วยเหลือผู้พิการ (rehabilitation centers and support centers for the disabled) และ

               อื่น ๆ อาจจะเป็นทั้งของรัฐหรือเอกชน อย่างไรก็ตาม ส าหรับผู้ให้การบริการเอกชนไม่สามารถด าเนินการเพื่อ
               แสวงหาก าไรให้กับองค์กรของตนเองได้ ผู้ให้การบริการทั้งภาครัฐและเอกชนจะด าเนินการภายใต้การก ากับ
               ดูแลโดยกระทรวง MHLW และรัฐบาลท้องถิ่น


                         3.2.3.2 กฎหมายการบ านาญ
                         ภายใต้ระบบประกันสังคมของญี่ปุ่น ได้มีการบัญญัติกฎหมายการบ านาญ (Pension Laws) ได้
               เริ่มในปี 2485 เป็นระบบที่ประกอบไปด้วยบ านาญ 2 ส่วน คือ ส่วนขั้นที่ 1 ระบบเงินบ านาญแห่งชาติ
               (National Pension System) โดยพลเมืองในวัยแรงงานทุกคน (อายุระหว่าง 20 – 59 ปี) จะอยู่ภายใต้ระบบ

               เงินบ านาญแห่งชาติ  และจะได้รับเงินบ านาญพื้นฐาน เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งในปัจจุบัน การรับเงินบ านาญ
               พื้นฐานส าหรับผู้ชาย อยู่ที่อายุ 65 ปีตั้งแต่ปี 2013 และส าหรับผู้หญิง ตั้งแต่ ปี 2018  ส่วนขั้นที่ 2 คือ ระบบ
               บ านาญส าหรับลูกจ้าง (Employee Pension System) ส าหรับลูกจ้างในบริษัทเอกชนและข้าราชการ ที่
               จะต้องสมัครเข้าระบบบ านาญส าหรับลูกจ้างและจะได้รับเงินบ านาญผลประโยชน์เพิ่มเติมจากเงินบ านาญ

               พื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย บ านาญสวัสดิการ (Welfare pension) และบ านาญส ารองเลี้ยงชีพ (Mutual
                                       148
               aid pension) เมื่อเข้าวัยเกษียณ  ยามาชิตะ (2559) ได้สรุปโครงสร้างระบบบ านาญของญี่ปุ่น ดังที่แสดงไว้
               ในรูปที่ 14




                    148 ตั้งแต่ปี 2556 อายุเกษียณของบ านาญพื้นฐาน คือ 65 ปี ส่วนบ านาญส าหรับลูกจ้าง มีการปรับปรุงแก้ไขทุก 3 ปี
               โดยอายุเกษียณในปี 2556 คือ 61 ปี ซึ่งจะเพิ่มขึ้น 1 ปีในทุก ๆ 3 ปี เป็น 62 ปี ในปี 2559 และเป็น 63 ปี ในปี 2562 เป็น
               64 ในปี 2565 และ 65 ปี ในปี 2568 ส าหรับผู้ชาย ขณะที่ของผู้หญิงจะปรับทุก ๆ 4 ปี จนเป็น 65 ปี ตั้งแต่ ปี 2573 ทั้งนี้ใน
               ที่สุดญี่ปุ่นคงต้องขยายอายุเกษียณไปถึง 70 ปี.
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166